การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การประเมินความเสี่ยง, การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโอกาส ความรุนแรง และความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
วิธีการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 208 คน ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 – พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ (Chi-Square) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับโอกาสในการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร
ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.1 อายุเฉลี่ย 39.3 ปี (S.D. = 12.4, Min. = 18, Max. = 66) เกษตรกรมีอาการผิดปกติหลังการฉีดพ่น ร้อยละ 27.4 เมื่อจัดระดับความรุนแรงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่ามีความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 64.0 ระดับปานกลาง ร้อยละ 20.6 และระดับค่อนข้างสูงร้อยละ 15.4 เกษตรกรมีโอกาสได้รับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 68.7 รองลงมาระดับปานกลาง ร้อยละ 30.8 และระดับสูงร้อยละ 0.5 เมื่อนำคะแนนระดับโอกาส มาทำ matrix กับระดับความรุนแรง พบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 68.2 ระดับสูงร้อยละ 14.9 ระดับค่อนข้างสูงร้อยละ 12.1 และระดับปานกลางร้อยละ 4.8 และพบว่า สถานภาพสมรส (X2 = 6.715, P=016) และการมีอาการผิดปกติหลังจากใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (X2=164.033, P<0.001) มีความสัมพันธ์กับระดับโอกาสในการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะทำงานกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรและผู้รับจ้างฉีดพ่น เพื่อลดโอกาสในการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร
References
กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และกาญจนา แซ่อึง. (2562). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(3), 187-198.
กุลธิดา ยะสะกะ, วรวรรณ ภูชาดา และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2565). สถานการณ์โรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและอัตราป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในเกษตรกร
เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 5(2), 35-43.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตร (ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. สืบค้น 16 มกราคม 2566, จาก
https://ddc.moph.go.th/uploads/pu blish/1388720230220111053.pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการป้องกันอาชีพ
เกษตรกรรม. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/ uploads/publish/1454920230804053738.pdf
ณัฐวุฒิ กกกระโทก และพุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. (2562). ผลของโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อแรงจูงใจเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(1), 239-250.
ธวัชชัย เอกสันติ. (2565). การพัฒนาความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพของแรงงานภาค
เกษตรกรรมในแปลงนาข้าว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นุกูล หนูสุข. (2561). ผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้สูงอายุ โดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 5(2), 1-14.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และ พีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2559). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ผู้ปลูกหอมแดง ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(3), 416-428.
ลักษณีย์ บุญขาว, จิตรติศักดิ์ มะลาศรี, รุจิรา ต่อซอน และศิรภา ลามี. (2565). การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกผักพื้นบ้าน ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 4(28), 69-180.
วาร์ธินีย์ แสนยศ. (2563). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี, 14(3), 18-29.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2566). การนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก https://www.doa.go.th/ ard/?page_id=386
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกษตร. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก
สาคร ศรีมุข. (2556). ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. สืบค้น 16 มกราคม 2566, จาก https://library.senate.go.th/ document/Ext6409/6409657_0002.PDF
สุชาดา ข้องแก้ว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.