แนวทางการสร้างความสุขและความผูกพันของบุคลากร สู่การเป็นองค์กรสุขภาวะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ดัชนีความสุข, ความผูกพันของบุคลากร, องค์กรสุขภาวะบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาดัชนีความสุข 8 ประการ ศึกษาแนวทางการสร้างความสุขและความผูกพันของบุคลากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2566 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (content analysis) ด้วยการตีความข้อคิดเห็น (discourse analysis) แล้วนำมาเรียบเรียงสรุปและจัดทำข้อมูลให้สมบูรณ์
ผลการวิจัย: ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.00 มีอายุงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 56.00 บุคลากรตำแหน่งสายวิชาการมากที่สุด ร้อยละ 68.00 ดัชนีความสุข 8 ประการของบุคลากร พบว่า อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.71, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านใฝ่รู้ดี (x̄ = 4.26, S.D. = 0.58) รองลงมาด้านจิตวิญญาณดี (x̄ = 3.97, S.D. = 0.72) และด้านน้ำใจดี (x̄ = 3.87, S.D. = 0.78) ทั้งนี้ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเงินดี (x̄ = 3.30, S.D. = 0.66) ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านจิตใจ (x̄ = 3.87, S.D. = 0.67) รองลงมา คือ ด้านการคงอยู่กับองค์กร (x̄ = 3.72, S.D. = 0.80) โดยเมื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนแนวทางในการเสริมสร้างความสุขและความผูกพันในองค์กรสำหรับบุคลากรคือ ควรส่งเสริมการออกกำลังกาย ซึ่งอาจจัดกิจกรรมการออกกำลังกายก่อนการประชุมและหลังเลิกงาน และสนับสนุนการพัฒนาตนเองผ่านการศึกษาดูงานนอกสถานที่ นอกจากนี้ควรมีกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด การทำบุญในวันพระ รวมถึงควรให้ความรู้ด้านการออมเงิน และให้บุคลากรนำสมาชิกครอบครัวมาร่วมกิจกรรมของคณะด้วย
References
กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). ข้อมูลบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565, จาก https://vpress.nrru.ac.th/personnel/index.php?option=com_content&view=article&id=85&Itemid=83
จรรยา ดาสา. (2552). ความสุขในที่ทำงาน (Happy workplace). สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 25565, จาก http://www.202.142.219.4/varticle/39142
ชวนพิศ นาเลี้ยง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขจากการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชัยวัฒน์ ธนาคมชาคร. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มธุรกิจ สารสนเทศและการสื่อสาร: กรณีศึกษา บริษัท ซีเมนต์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นภัส จิตต์ธีรภาพ. (2554). ปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, ศูนย์บริการวิชาการองค์กรสุขภาวะภาคเหนือตอนล่าง. (2560). กล่องแห่งความสุข 8 ประการ - ( Happy 8 Menu). สืบค้น 28 พฤษภาคม 2567,จาก https://huso.kpru.ac.th/HappyWorkPlace/?page_id=121&lang=TH
ลลิดา พิมพการัง. (2552). ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความผูกพันของพนักงานต่อองค์การในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ, วรรณภา อารีย์ และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2565). รายงานการสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กรของคนทำงาน (ในองค์กร) ระดับประเทศ พ.ศ. 2564. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ
พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395
Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literatureand practice: Word Health Organization. Retrieved 20 November 2015, form http://www.who.int/occupational_ health/healthy_workplace_framework.pdf
Martin, Angela J. Jones.Elizabeth S. and Callan, Victor J. (2005). The Role of Psychological Climate in Facilitating Employee Adjustment During Organizational Change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 14(3), 263-289
Moorhead, G. & Griffin, R. W. (2010). Organizational behavior: Managing People and Organizations (9th ed.). China: South-Western CENGAGE Learning
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.