ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานสูงอายุนอกระบบภาคการเกษตร: กรณีศึกษา ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กัญนิกา อยู่สำราญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรีสกุล ชนะพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พานิช แก่นกาญจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, แรงงานนอกระบบ

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานสูงอายุนอกระบบภาคการเกษตร

          วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานสูงอายุนอกระบบภาคการเกษตร จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และ0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001

          ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.37 อายุอยู่ระหว่าง 45-59 ปี ร้อยละ 52.19 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 83.42 อายุการทำงาน 10 – 19 ปี ร้อยละ 60.79 เคยได้รับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร้อยละ 62.37 ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ การตรวจสอบข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคม และการจัดการสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับดี ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ และการตรวจสอบข้อมูลและบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r = 0.308, 0.360 และ 0.377, p-value < 0.001) การสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคม และการจัดการสุขภาพตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.470 และ 0.539, p-value < 0.001) ภาพรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.496, p-value < 0.001)

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 จาก https://ddc.moph. go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ. เอกสารเผยแพร่โดยอรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 จาก http://www.anamai.moph.go.th/ppf2017/Download.pdf.

กัมปนาท โคตรพันธ์ และ นิยม จันทร์นวล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. Research and Innovation for Sustainable Development Goals in the Next Normal.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบล

ปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2563). เผยผลสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกัน 'โควิด-19’. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.hfocus.org/ content.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รินธรรม จารุภาชน์. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น, วารสารสำานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(1), 71-81.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ปนัดดา งามเปรี่ยม, สุรัตนา เหล่าไชย และประภากร ศรีสว่าวงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 104-114.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน. (ม.ป.ป.). สถานการณ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 จาก

https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2021/03/GR_ report_force_detail.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2565. สืบค้นเมื่อวันที่

มิถุนายน 2565 จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/pop_sex_age.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1),

-29.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 จาก

http://bsris.swu.ac.th/upload/ 268335.pdf

Krejcie, R. V., and Morgan, D .W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.

WHO. (1998). Health promotionGlossar. Geneva: WHO Publications.

Wiersma, W. and G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction (9th ed). Massachusetts: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

อยู่สำราญ ก., ชนะพันธ์ ศ., & แก่นกาญจน์ พ. (2024). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานสูงอายุนอกระบบภาคการเกษตร: กรณีศึกษา ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 37(1), 18–34. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/256405