การสำรวจและวิเคราะห์บริบทการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวในเมืองนครราชสีมาโดยใช้กระบวนการ Urban Forestry

ผู้แต่ง

  • ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • นิธิ ลิศนันท์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
  • นิธิ ลิศนันท์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พื้นที่สีเขียว, ป่าในเมือง, ไม้ยืนต้น, ฐานข้อมูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูลไม้ยืนต้นและพื้นที่สีเขียว กำหนดพื้นที่ศึกษา คือ เขตเมืองเก่านครราชสีมา มีพื้นที่ 1,167 ไร่ 1 งาน 32 ตารางวา

     วิธีการวิจัย: คณะผู้วิจัยทำการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีชื่อว่า 4Rester มีความสามารถในการเก็บข้อมูล พิกัดไม้ยืนต้น ชนิดพันธุ์  ขนาด คุณภาพ  รูปถ่ายใบ ลำต้น ดอกและผลไม้ เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบเปิด (Open Data) ผู้ใช้ทุกคนสามารถเก็บข้อมูล และเข้าดูข้อมูลได้จากโทรศัพท์มือถือ

     ผลการวิจัย: พบไม้ยืนต้นในพื้นที่ศึกษาจำนวน 2,166 ต้น 29 ชนิดพันธุ์  คิดเป็น 1.85 ต้นต่อไร่ มีพื้นที่สีเขียว 9.54 ตารางเมตรต่อคน มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์แต่ละชนิดไม่เกินร้อยละ 12 สามารถลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 0.34 ตันต่อไร่ต่อปี และคิดเป็นไม้ยืนต้น 1 ต้นต่อประชากร 11.38 คน

     ดังนั้นหากต้องการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามข้อเสนอของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ และพื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมในเมืองควรช่วยลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่า 1.2 ตันต่อไร่ ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มในเขตเมืองเก่านครราชสีมา จำนวน 3,169 ต้น

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2545ก). หน้า 16 เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ. 2549. สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2565 จาก http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_urban2std_plan.pdf

กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2545ข). มาตรฐานการวางผังเมือง. สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2565 จาก http://subsites.dpt.go.th/ edocument/index.php/sd-urban/ 5-2017-04-03-03-01-02.

ณัฏฐ พิชกรรม และ เกษม จันทร์แก้ว. (2543). โครงการการศึกษาผลของพื้นที่สีเขียวที่มีต่อการลดอุณหภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ดำรง ศรีพระราม, ลดาวัลย์ พวงจิตร, สาพิศ ดิลกสัมพันธ์, สคาร ทีจันทึก, นรินธร จำวงษ์, ละอองดาว เถาว์พิมาย, และทิพวรรณ สังข์ทอง. (2553). การศึกษาลักษณะของพรรณไม้ ปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน).

นิธิ ลิศนันท์. (2559). การศึกษาศักยภาพของพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเก่านครราชสีมา: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มปท: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์, เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน, ปิติ กันตังกุล, วุฒิ หวังวัชรกุล, ปกรณ์ นิลประพันธ์, ลดาวัลย์ พวงจิตร, และแอนนา เขียวชอุ่ม. (2547). มาตรการในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนอย่างยั่งยืน: รายงานฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ศูนย์วิจัยป่าไม้ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

มณฑาทิพย์ โสมมีชัย. (2559). การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง. (เอกสารประกอบคำบรรยาย) กรุงเทพฯ: ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการพัฒนาเมืองและชุมชนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ. กรุงเทพฯ: บริษัท เวิลด์ ปริ้น ‘ (ประเทศไทย) จํากัด.

Chen, J. et al. (2016). International Center for Ecology, Meteorology, and Environment. Nanjing, China: University of Information Science and Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22

How to Cite

สาระเขตต์ ศ., ลิศนันท์ น., & ลิศนันท์ น. (2022). การสำรวจและวิเคราะห์บริบทการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวในเมืองนครราชสีมาโดยใช้กระบวนการ Urban Forestry . วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 82–96. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/248700

ฉบับ

บท

บทความวิจัย