การศึกษาระบบนิเวศองค์กรแห่งความสุขของภาคเครือข่าย ภาคเอกชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • วสุนธรา รตโนภาส โปรแกรมวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ฤทธิรงค์ เกาฏีระ โปรแกรมวิชาสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ตรรกพร สุขเกษม โปรแกรมวิชารัฐประสาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ระบบนิเวศ, องค์กรแห่งความสุข, เครือข่ายภาคเอกชน, ภาคเหนือตอนล่าง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ของการวิจัย 1) เพื่อประเมินระดับความสุขในการทำงานขององค์กรแห่งความสุข 2) เพื่อศึกษาระบบนิเวศในองค์กรแห่งความสุข และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสุขกับระบบนิเวศในองค์กรแห่งความสุข

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากร ได้แก่ ภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะภาคเอกชนจาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก (แม่สอด) จำนวน 37 องค์กร มีจำนวนบุคลากร 5,920 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าและออกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ องค์กรที่ตอบรับการเป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ จากจำนวน 37 องค์กรและทำการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ได้แก่ มีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่มีฝ่ายบุคคล มีการจัดทำแผนการสร้างสุขภาวะในองค์กร โดยผ่านการอบรมนักสร้างสุของค์กร ได้ประชากรเท่ากับ 10 องค์กร มีบุคลากร จำนวน 1,018 คน และทำการคำนวณขนาดตัวอย่างของ Krejcie and Morgan กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  และการหาทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย: พบว่า 1) ระดับความสุขในการทำงานขององค์กรภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ ภาพรวม 9 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = 0.39) ได้แก่ ด้านการมีน้ำใจงาม Happy Heart  2) ระบบนิเวศในองค์กรแห่งความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.51)  ได้แก่ ด้านความอบอุ่น และ 3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสุขในองค์กรแห่งความสุขกับระบบนิเวศในองค์กรแห่งความสุข ผลการวิจัย พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05

Author Biography

ตรรกพร สุขเกษม, โปรแกรมวิชารัฐประสาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

31/10/1977

References

กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุขคนเบิกบานงานสำเร็จ. วารสาร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(1), 315 – 330.

โครงการศูนย์บริการวิชาการองค์กรสุขภาวะ ภาคเหนือตอนล่าง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). แบบสอบถามประเมินความสุขส่วนบุคคล Self Assessment Happy Workplace. มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. (31 สิงหาคม 2564). สืบค้นจาก: https://www.doctor.or.th/article/ detail/5572

ชุติมา สีบำรุงสาสน์. (2562). สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (31 สิงหาคม 2564). สืบค้นจาก: http://www.pmat.or.th/

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจันทนา แสนสุข. (2562). การให้ความหมายและรูปแบบการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานต่อพนักงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9(2), 41 – 50.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ความสุขในการทำงาน : ความท้าทายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 18(2), 113 – 125.

ธยา ภิรมย์ และ พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์. (2555). การศึกษาความเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานของพนักงานเย็บในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2555. วันที่ 17-19 ตุลาคม 2555 ณ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย: อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.

มาสริน ศุกลปักษ์ และคณะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานและบรรยากาศองค์กร ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1) 32-39

ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม และคณะ. (2558). ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ): การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สุขภาพ, 9(1), 52.

สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานพิมพ์บรรณกิจ.

สุชาดา นิ้มวัฒนากุล และชดช้อย วัฒนะ. (2561). ความสุขของนักศึกษาและบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และความคิดเห็นในการสร้างองค์กรแห่งความสุข. วารสารรายงานการวิจัย, 29(1), 141 – 147.

สุวรรณา เหลืองไพบูลย์ผล. (2549). การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมรถยนต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Koufman, H. F. (1949). Participation in Organized Activities in Selected Kentucky Localities. Lexington, KY: Kentucky. Agricultural Experiment Station, University of Kentucky.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). "Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Moos, R. H. (1986). The human context environmental determinants of behavior. New York: John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22

How to Cite

รตโนภาส ว., เกาฏีระ ฤ., & สุขเกษม ต. (2022). การศึกษาระบบนิเวศองค์กรแห่งความสุขของภาคเครือข่าย ภาคเอกชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(2), 67–81. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/248533

ฉบับ

บท

บทความวิจัย