การเปรียบเทียบตัวแบบอัตรามรณะ เพื่อพยากรณ์อัตรามรณะไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐสุรางค์ ยะสูงเนิน อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ตัวแบบลี-คาร์เตอร์, ตัวแบบเอช-โคฮอท, อัตรามรณะไทย

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาตัวแบบอัตรามรณะ และเพื่อคัดเลือกตัวแบบอัตรามรณะที่เหมาะสมในการพยากรณ์อัตรามรณะของประชากรไทย ในช่วงปี 2563-2572

     วิธีการวิจัย: ตัวแบบที่ทำการศึกษาคือ ตัวแบบลี-คาร์เตอร์ (Lee-Carter Model) และตัวแบบเอช-โคฮอท (Age-Cohort Model) ภายใต้สมมติฐาน จำนวนการตายมีการแจกแจงปัวซง และจำนวนการตายมีการแจกแจงทวินามลบ ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย จำนวนประชากรกลางปี และจำนวนการตายของประชากร จำแนกตามเพศ และช่วงอายุ มาจากกระทรวงมหาดไทย และจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยทำการประมาณค่าอัตรามรณะ เพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสม เพื่อที่ใช้ในการพยากรณ์อัตรามรณะ นอกจากนี้การวิเคราะห์ได้พิจารณาหาวิธีการประมาณค่าที่เหมาะสมกับข้อมูล โดยพิจารณาการเกิดปัญหา overdispersion ของข้อมูลจำนวนการตาย อีกด้วย

     ผลการวิจัย: พบว่า สำหรับเพศชาย ตัวแบบที่เหมาะสมในการนำไปพยากรณ์ค่าอัตรามรณะ คือ ตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ภายใต้สมมติฐานจำนวนการตายมีการแจกแจงทวินามลบ กรณีพารามิเตอร์การกระจายขึ้นอยู่กับอายุ และสำหรับเพศหญิง ได้ตัวแบบที่เหมาะสมคือ ตัวแบบเอช-โคฮอท ภายใต้สมมติฐานจำนวนการตายมีการแจกแจงทวินามลบ กรณีพารามิเตอร์การกระจายไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ผลการพยากรณ์อัตรามรณะพบว่าอัตรามรณะมีแนวโน้มลดลงทั้งเพศชายและเพศหญิง และอายุขัยโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งเพศชายและหญิง นอกจากนี้พบว่าอายุขัยเฉลี่ยของเพศหญิงสูงกว่าอายุขัยเฉลี่ยของเพศชาย

References

1. Brouhns, N., Denuit, M., & Vermunt, J. K. (2002). A Poisson log-bilinear regression approach to the construction of projected lifetable. Insurance: Mathematics and Economics, 373-393.

2. Currie, I. D. (2006). Smooting and forecasting mortality rates with P-splins. Talk given at the Institute of actuaries.http://www.macs.hw.ac. uk/~iain/research/talks/Mortality.pdf

3. Dean, C. B. (1992). Testing for overdispersion in Poisson and binomial regression. Journal of the American Statistical Association, 87, 451-457.

4. Dean, C., & Lawless, J. F. (1989). Tests for detecting overdispersion in Poisson. Journal of the American Statistical Association, 84, 467-472.

5. Goodman, L. A. (1979). Simple Models for the Analysis of Associate in Cross-Classification having Ordered categories. Journal of the American Statistical Association, 74(367), 537-552.

6. Lee, R. D., & Carter, L. R. (1992). Modeling and Forecasting U.S. Mortality. Journal of the American Statistical Association, 87(419), 659-671.

7. Renshaw, A., & Haberman, S. (2003). Lee-Carter mortality forecasting with age-specific enhancement. Insurance: Mathematics and Economics, 33, 255-272.

8. Renshaw, A., & Haberman, S. (2006). A Cohort-based extension to the Lee-Carter model for mortality reduction facstors. Insurance: Mathematics and Economics, 38, 556-570.

9. Yasungnoen, N. (2015). Forecasting Thai mortality by using a modified Lee-Carter model. (Doctoral dissertation). Suranaree University of Technology, Nakhonratchasima, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

ยะสูงเนิน ณ. (2021). การเปรียบเทียบตัวแบบอัตรามรณะ เพื่อพยากรณ์อัตรามรณะไทย. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(1), 75–86. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/244657

ฉบับ

บท

บทความวิจัย