ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรรณศรี แววงาม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ฐิติมา กาสีชา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ลำพึง วอนอก หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ, ปัจจัยเสี่ยง, วัยรุ่น, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์: ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง แต่ยังมีความไม่ชัดเจนถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของกลุ่มวัยรุ่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของนักศึกษาในวิทยาลัย

    วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 315 คน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบคัดลอกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เป็นการถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์

    ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.94 ค่ามัธยฐานของอายุ 20 ปี (พิสัยควอไทล์ = 1) มีดัชนีมวลกายสมส่วน ร้อยละ 57.38 เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรร่วมแล้วพบว่า อายุ 20 ปีขึ้นไป (ORadj = 2.92, 95% CI : 1.39 to 6.09, p-value = 0.004) และการรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) (ORadj = 2.10, 95% CI : 1.06 to 4.16, p-value = 0.032) มีความสัมพันธ์กับภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

      โดยสรุป อายุที่มากขึ้นและการรับประทาน NSAIDs เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของวัยรุ่น ดังนั้นควรมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ควรรับประทานยา NSAIDs ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังในอนาคต

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ม.ป.). Retrieved 8 November 2019,

from https://www.dmh.go.th/abstract/nurse/details.asp?id=2371.

ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2560). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(2), 94–106.

ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 2(2), 24–35.

พงษ์ประยูร แก้วหมุน, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, และสมเกียรติยศ วรเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(3), 62-73.

สตรีรัตน์ พูลสาทรกูล, วรรณศรี แววงาม, ลำพึง วอนอก, บุญฐิตา สัตยกิจกุล, สุพัฒน์ อาสนะ, และเทอดศักดิ์ นำเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และฉลองครบรอบ 36 ปี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (น. 1037-1048). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สลินทร์นา พูลเมืองรัตน์, นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร, กฤติยา ยงวณิชย์, และณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์. (2560). ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมและเกณฑ์เวลาของหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 164-176.

Abd ElHafeez, S., Hegazy, R., Naga, Y., Wahdan, I., & Sallam, S. (2019). Non-steroidal anti-inflammatory drugs among chronic kidney disease patients: an epidemiological study. Journal of the Egyptian Public Health Association, 94(1), 1-8.

Aucella, F., Corsonello, A., Leosco, D., Brunori, G., Gesualdo, L., & Antonelli-Incalzi, R. (2019). Beyond chronic kidney disease: the diagnosis of Renal Disease in the Elderly as an unmet need. A position paper endorsed by Italian Society of Nephrology (SIN) and Italian Society of Geriatrics and Gerontology (SIGG). Journal of nephrology, 32(2), 165–176.

Chaudhury, A. R., Reddy, T. V., Divyaveer, S. S., Patil, K., Bennikal, M., Karmakar, K., Chatterjee, S., Dasgupta, S., Sircar, D., & Pandey, R. (2017). A Cross-sectional Prospective Study of Asymptomatic Urinary Abnormalities, Blood Pressure, and Body Mass Index in Healthy School Children. Kidney international reports, 2(6), 1169–1175.

Chen, H., Shinzawa, M., Tokumasu, H., Tanaka, S., & Kawakami, K. (2017). Short sleep and risk of proteinuria in 3-year-olds in Japan: a population-based cohort study. Sleep medicine, 40, 33-39.

Hasan, M., Sutradhar, I., Gupta, R. D., & Sarker, M. (2018). Prevalence of chronic kidney disease in South Asia: A systematic review. BMC Nephrology, 19.

Hill, N. R., Fatoba, S. T., Oke, J. L., Hirst, J. A., O’Callaghan, C. A., Lasserson, D. S., & Hobbs, F. D. R. (2016). Global Prevalence of Chronic Kidney Disease – A Systematic Review and Meta-Analysis. PLoS ONE, 11(7).

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.

Jitraknatee, J., Ruengorn, C. & Nochaiwong, S. (2020). Prevalence and Risk Factors of Chronic Kidney Disease among Type 2 Diabetes Patients: A Cross-Sectional Study in Primary Care Practice. Scientific Reports, 10(1), 6205.

Kim, S., & Uhm, J. Y. (2019). Individual and Environmental Factors Associated with Proteinuria in Korean Children: A Multilevel Analysis. International journal of environmental research and public health, 16(18), 3317.

Ochiai, H., Shirasawa, T., Yoshimoto, T., Nagahama, S., Kobayashi, M., Minoura, A., Ikeda, K., Ozaki, E., Hoshino, H., & Kokaze, A. (2019). Association of the combination of weight gain after 20 years of age and current obesity with chronic kidney disease in Japan: a cross-sectional study. BMJ open, 9(6), e027752.

Rosenstock, J. L., Pommier, M., Stoffels, G., Patel, S., & Michelis, M. F. (2018). Prevalence of Proteinuria and Albuminuria in an Obese Population and Associated Risk Factors. Frontiers in medicine, 5, 1-4.

Saritsiri, S., Mongkolchati, A., & Suksaroj, T. (2021). Prevalence of chronic kidney disease and related factors among diabetic patients in primary care, Bangkok, Thailand. Journal of Public Health and Development, 19(1), 1–18.

Songsermlosakul, S., Permsuwan, U., & Singhan, W. (2020). Treatment Costs for Patients with Chronic Kidney Disease Who Received Multidisciplinary Care in a District Hospital in Thailand. ClinicoEconomics and Outcomes Research: CEOR, 12, 223.

Sonthon, P., Promthet, S., Changsirikulchai, S., Rangsin, R., Thinkhamrop, B., Rattanamongkolgul, S., & Hurst, C. P. (2017). The impact of the quality of care and other factors on progression of chronic kidney disease in Thai patients with Type 2 Diabetes Mellitus: A nationwide cohort study. PloS one, 12(7), e0180977.

Tótoli, C., Carvalho, A. B., Ammirati, A. L., Draibe, S. A., & Canziani, M. (2019). Associated factors related to chronic kidney disease progression in elderly patients. PloS one, 14(7), e0219956.

Yamamoto, R., Shinzawa, M., Isaka, Y., Yamakoshi, E., Imai, E., Ohashi, Y., & Hishida, A. (2018). Sleep Quality and Sleep Duration with CKD are Associated with Progression to ESKD. Clinical Journal of the American Society of Nephrology, 13(12), 1825–1832.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

แววงาม ว., กาสีชา ฐ., & วอนอก ล. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(1), 10–21. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/244134

ฉบับ

บท

บทความวิจัย