การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาแบบวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ ทบทวนแนวทางปฏิบัติเดิมที่มีอยู่ และสังเกตการปฏิบัติ 2) ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) ระยะทดลองปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 20 คน และผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 39 คน รวม 78 คน และ 4) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ความถี่และร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา: ระยะศึกษาสถานการณ์ พบว่า แนวทางป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดของหน่วยงานที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดมีความหลากหลายไม่เป็นแนวทางเดียวกัน ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 7 แนวปฏิบัติย่อย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และสามารถนำไปใช้จริง ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด 2) แนวปฏิบัติการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 3) แนวปฏิบัติการสื่อสารในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 4) แนวปฏิบัติการดูดเสมหะ 5) แนวปฏิบัติการยึดตรึงท่อช่วยหายใจ 6) แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ 7) แนวปฏิบัติการผูกยึดร่างกาย ระยะทดลองปฏิบัติ ดำเนินการประชุม ชี้แจงและฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติการพยาบาลฯที่พัฒนาขึ้น ระยะประเมินผล การทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด พบว่าผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดน้อยกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ผู้สูงอายุ) เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. จงกล พลตรี, จิราพร ศิริโชค, รังสี ฆารไสว, ปัตนี แสนคามูล และอภิชาต จิระวุฒิพงศ์. (2554). การศึกษาอุบัติการณ์ถอดท่อช่วยหายใจออกโดยไม่ได้วางแผนของผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(Suppl), 162.
3. บังอร นาคฤทธิ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 129-143.
4. มณีนุช สุทธสนธิ์, ขนิษฐา แก้วกัลยา และวาสนา นัยพัฒน์. (2560). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยอาการหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2),
58-70.
5. มาณี ชัยวีระเดช, นรลักขณ์ เอื้อกิจ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2556). ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่ เครื่องช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 33(2), 31-46.
6. ราตรี จิตต์แหลม. (2555). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลลำปาง. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. โรงพยาบาลขอนแก่น. (2559). รายงานความเสี่ยงหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
7. วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม และธนชัย พนาพุฒิ. (2557). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. รายงานการวิจัย ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
8. สมจิตต์ แสงศรี. (2555). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่) สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
9. Balon, J. A. (2001). Common factors of spontaneous self-extubation in critical care setting. Internal Journal of trauma nursing, 7(3), 93-99.
10. Carroll, S. M. (2004). Nonvocal ventilated patients’ perceptions of being understood. Western Journal of Nursing Research, 26(1), 85-130.
11. Curry, K., Kutash, M. and Didds, C. (2008). Characteristics associated with unplanned extubations in a surgical intensive care unit. American Journal of critical care, 17, 45-52.
12. Gardner, A., Hughes, D., Cook, R., Henson, R., Osborne, S., & Gardner, G. (2005). Best practice in stabilization of oral endotracheal tube: A systematic review. Australia Critical Care, 18(4), 158-
165.
13. Herold, I., Arbous, S., Habraken, M., Van der Schaaf, T., Frank, M. and Van der berg, P. (2006). Risk factor for unplanned extubations in critical ill patients, using PRISMA analysis. Critical care nursing, 10(1), 441.
14. Penuelas, O., Frutos-Vivar, F. and Esteban, A. (2011). Unplanned extubation in the ICU: A Marker of quality assurance of mechanical ventilation. Critical Care, 15, 128-132.
15. Polit, D. F. & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research. (6th ed.). Philadelphia: Lippineott.
16. Silva, P. S. and Fonseca, M.C. (2012). Unplanned Endotracheal Extubations in the Intensive care unit: Systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Society of Critical Care Anesthesiologists, 114, 1003–1014.
17. Sirata, C. (2007). The development of a clinical nursing practice guideline to prevent self Extubation in critical adult patients. The Master degree of Nursing Science (Adult Nursing) Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.