การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล
คำสำคัญ:
การวางแผนจำหน่าย, โรคปอดอักเสบในเด็ก, การมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและผู้ดูแล
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กเล็กโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่าง 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559 จำนวนรวม 338 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ กระบวนการพัฒนามี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสำรวจสถานการณ์ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ และนำไปปฏิบัติ 3) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: 1) ด้านสถานการณ์ พบว่าพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กของผู้ดูแลยังไม่ถูกต้อง อัตราการกลับมารักษาซ้ำ ปี 2558 เท่ากับร้อยละ 7.5 2) ด้านรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่พัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล ประกอบด้วย 2.1) ผังการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 2.2) โปรแกรมการสอนและฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ 2.3) มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ผลการทดลองใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย พบว่าอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ลดลงจากร้อยละ 7.5 เป็นร้อยละ 7.1 ในปี 2559 ผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 82 ผู้ดูแลมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90 อัตราความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่าย เท่ากับ ร้อยละ 86.7 และอัตราความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการวางแผนจำหน่ายในระดับมาก เท่ากับ 93.3 รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนจำหน่าย สามารถนำรูปแบบนี้ไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบได้
References
2. ฆนรส อภิญญาลังกร. (2559). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(1). 139 – 151.
3. ฐานิกา บุษมงคล. (2555). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดของเมสัน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 2(1). 28 – 39.
4. ดวงใจ สนิท. (2558). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1). 60 – 81.
5. บุษราวรรณ ไชยชนะวงศ์. (2554). ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกโดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแล. การศึกษาอิสระ พย.ม. (สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก) ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2536) พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
7. พเยาว์ คนหาญ. (2555). ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบอายุ 0-5 ปี ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มและเอกสารฉบับเต็ม ของเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS).
8. พัชราช คล่องดี. (2552). ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก 0 – 5 ปี โดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D ต่อความรู้เรื่องโรคและความรู้ในการดูแลเด็ก. การศึกษาอิสระ พย.ม. (สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก) ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
9. รัชดา นาคสี. (2553). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลของมารดาในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเขาสวนกลาง จังหวัดขอนแก่น. จาก ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม และเอกสารฉบับเต็มของเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย (ThaiLIS).
10. วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1). 135 – 145.
11. วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ และคณะ. (2559). บทบาทพยาบาล: ความท้าทายในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 22(1). 121 – 130.
12. วัชรี แก้วนอกเขา. (2555). โรคปอดอักเสบประเทศไทย ปี 2548–2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา, 43(ฉบับพิเศษ), 90-98.
13. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
14. สมจิตต์ อุทยานสุทธิ. (2558). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(2). 145 – 160.
15. หอผู้ป่วยเด็กเล็ก โรงพยาบาลขอนแก่น. (2558). สรุปรายงานการดำเนินงานหอผู้ป่วยเด็กเล็ก. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
16. Carroll, S. S. (2011). Reducing hospital readmissions: Lessons from top-performing hospitals. The Commonwealth Fund, 5(April, 2011), 1-3.
17. Garham, S. M., English, M., Hazir, T., Enarson, P., & Duke, T. (2008). Challenges to improving case management of childhood pneumonia at health facilities in resource limited setting. Bulletin of the World Health Organization, 86(5), 349-355.
18.Huber, D. (2013). Patient preferences and discharge planning transitions. Journal of Profession Nursing, 19(4), 204 – 210.
19. Kristensson, H. I. (2000). Parental participation in pediatric surgical care. Association of periOperative Registered Nurses [AORN] Journal, 71(5), 1021- 1033.
20. Lam, L. W., Chang, A. M., & Morrissey. (2006). Parents’ experience of participation in the care of hospitalized children: A qualitative study. International Journal of Nursing Studies, 43(5), 535-545.