การพัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัดหัวใจ
คำสำคัญ:
การติดเชื้อแผลผ่าตัด, แนวทางป้องกันการติดเชื้อ, การผ่าตัดหัวใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลศูนย์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 27 คน ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ 90 คน ญาติ 84 คน รวม 201 คน ในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง แบ่งการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ การดูแลบาดแผลและการดูแลหลังผ่าตัดหัวใจ 2) นำเสนอสถานการณ์และกำหนดแนวทางป้องกันการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัดหัวใจ 3) ทดลองใช้ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก 4) สรุปและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์ 2) แบบสังเกตการปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต ซักถาม ระดมความคิด และตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: พบว่าแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัดหัวใจมี 8 ประการคือ 1) การส่งต่อข้อมูลลักษณะแผลโดยพยาบาลทุกเวร 2) การประเมินและดูแลบาดแผล 3) การใช้น้ำยาทำแผล 2% chlorhexidine in 70% alcohol 4) การใช้ผ้ารัดหน้าอก 5) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย 6) การให้ความรู้การปฏิบัติตัวแก่ญาติ 7) การเฝ้าระวังการติดเชื้อ และ 8) การจัดให้มีพยาบาลวิชาชีพในการติดตามประเมินผล ผลการทดลองใช้พบว่ามีผู้ปฏิบัติตามได้ ร้อยละ 92 ความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ100 ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในระดับมากขึ้นไป ร้อยละ90 อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัดหัวใจลดลง จากร้อยละ 0.75 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นร้อยละ 0.41 ในปี พ.ศ. 2560 ดังนั้นแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดที่ได้จากการศึกษานี้ จึงช่วยลดการติดเชื้อแผลหลังผ่าตัดหัวใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกได้
References
2. ธนะพัทธ์ พิบูลย์บรรณกิจ. (2558). ภาวะการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดของระบบหัวใจและทรวงอก. (ออนไลน์) http://thaists.org/news_files/news_file_396.pdf. วันที่ 2 มกราคม 2560.
3. ไพบูลย์ โล่สุนทร. (2552). ระบาดวิทยา (Epidemiology). กรุงเทพมหานคร: คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. โรงพยาบาลขอนแก่น. (2558). คู่มือนโยบายโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
5. โรงพยาบาลขอนแก่น. (2559). ทะเบียนผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก: ทะเบียนผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ (2558-2559). ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.
6. วงเดือน สุวรรณคีรี และยุพเรศ พญาพรม. (2560). การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2) : 15-28.
7. สันต์ ใจยอดศิลป์. (2553). ความเสี่ยงของการผ่าตัดหัวใจ. (ออนไลน์) http://visitdrsant.blogspot.com/2010/09/blog-post_07.html. เข้าถึงเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
8. Anderson, D. J., Podgorny, K., Berrios-Torres, S. I., Bratzler, D. W., Dellinger, E. P., Greene,
L....& Kaye, K. S. (2014). Strategies to prevent surgical site infections in acute care hospitals: 2014 update. Infection Control and Hospital Epidemiology, 35(6): 605-627.
9. hospitals: 2014 update. Infection Control and Hospital Epidemiology, 35(6): 605-627.
10. Berrios-Torres, S. I., Umscheid, C. A., Bratzler, D. W., Leas, B., Stone, E. C., Kelz, R. R.…&
Schecter, W. P. (2014). Draft guideline for the prevention of surgical site infection. Retrieved April 8, 2017 from www. jscva/files/CDC-SSI_Guideline_Draft2014.pdf
11. Fei, Q., Li, J., Lin, J., Li, D., Wang, B., Meng, H., & Yang, Y. (2015). Risk factors for surgical
site infection following spinal surgery: A meta-analysis. World Ne u r o s u r g e r y ,
d o i : 1 0 . 1 0 1 6 / j . wneu.2015.05.059.
12. Kemmis S, Mc., & Taggart R. (2000). Participatory action research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research (2nd eds.). Thousand Oaks CA: Sage; pp: 567-605.
13. Korol, E., Johnson, K., Waser, N., Sifakis, F., Jafri, H. S., Lo, M., & Kyaw, H. (2013). A
systematic review of risk factors associated with surgical site infections among surgical
patients. Public Library of Science ONE, 8(12): e83743.
14. Lindblom, R. P. et al. (2015). “Outcomes following the implementation of a quality
control campaign to decrease sternal wound infections after coronary artery bypass
graft” BMS Cardiovasc Discord, 2(20) 154-158.
15. Rabih, O. Darouiche, M. D., et al. (2010). Chlorhexidine–Alcohol versus Povidone–Iodine
for Surgical-Site Antisepsis. New England Journal of Medicine, 36(2) 18-26.
16. World Health Organization. (2009). WHO guidelines for safe surgery 2009: safe surgery
saves lives. Geneva: World Health Organization.
17. Zhang, Y., Zheng, Q. J., Wang, S., Zeng, S. X., Zhang, Y. P., Bai, X. J., & Hou, T. Y. (2015).
Diabetes mellitus is associated with increased risk of surgical site infections: A meta-analysis of perspective cohort studies. American Journal of Infection Control, 43: 810-815.