การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มน้ำนมถั่วลายเสือ
คำสำคัญ:
เยลลี่พร้อมดื่ม, ถั่วลายเสือ, คาราจีแนนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานในการผลิตน้ำนมถั่วลายเสือ ศึกษาปริมาณสารให้ความคงตัวในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มน้ำนมถั่วลายเสือ และศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไปต่อผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มน้ำนมถั่วลายเสือ
วิธีการวิจัย: ใช้แผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Completely Block Design; RCBD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan’s new multiple range test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการวิจัย: พบว่าอัตราส่วนถั่วต่อน้ำที่ 1:1 ได้รับคะแนนเฉลี่ยทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และค่าเฉลี่ยรวมของประสาทสัมผัสทุกด้าน คือ 7.00(SD ±1.05), 7.30(SD ±1.06), 6.70(SD ±1.16), 6.30(SD ±1.89), 6.70(SD ±1.76), 6.70(SD ±1.70)ด้านปริมาณสารให้ความคงตัวในผลิตภัณฑ์พบว่า คาราจีแนนผงสำเร็จรูปร้อยละ 1 ได้รับคะแนนเฉลี่ยทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ ความรู้สึกในปาก ความรู้สึกขณะกลืน และค่าเฉลี่ยรวมของประสาทสัมผัสทุกด้าน คือ 6.87(SD ±1.20), 7.03(SD ±1.22), 6.67(SD ±1.52), 7.13(SD ±1.22), 6.77(SD ±1.57), 7.00(SD ±1.26), 6.73(SD ±1.41) และ6.93(SD ±1.36) ตามลำดับ และผู้บริโภคมีความสนใจในผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มน้ำนมถั่วลายเสือและมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ปริมาณ 50 กรัม ที่ราคา 8 บาท คิดเป็นร้อยละ 100
References
เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Aspire5/Downloads/68895-Article%20Text-161604-1-10-20161012%20(2).pdf. [23 มิถุนายน 2562].
จุฑามาศ พีรพัชระ และคณะ. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเยลลี่เหลว.[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก:https://www.clinictech.most.go.th. [10 มิถุนายน 2562].
ทัตดาว ภาษีผลและคณะ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองผสมน้ำมะม่วงสเตอริไลซ์. Journal of Accountancy and Management
ทิพย์อุบล สุวรรณไตรย์ และคณะ. (2562). แบบเสนอโครงงานวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.agro.cmu.ac.th. [24 มิถุนายน 2562].
พชรวรรณ บุญสาลีพิทักษ์ และคณะ. (2560). ผลิตภัณฑ์เครปเค้กทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้ง ข้าวก่ำ. ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ลำปาง.
เธียรชัย แซ่จู. (2560). สภาเกษตรกรฯ แม่ฮ่องสอน ชู “ถั่วลายเสือ” GI พืชประจำถิ่น. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: https://siamrath.co.th. [20 มิถุนายน 2562].
นิติยา รัตนาปนนท์. (2545). เคมีอาหาร, โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
นุชเนตร ตาเย๊ะและคณะ (2561 ). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมจากถั่วดาวอินคา. Journal of Science and Technology. 3(1): Jan – Jul 2018 : 57-66.
รุ่งนภา. (2562). กรดไขมัน กินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย.[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก:https://www.pobpad.com. [25 มิถุนายน 2562].
วรรณ ธรรมธนารักษ์ และคณะ. (2547). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วลายเสือ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.agro.cmu.ac.th.[20 มิถุนายน 2562].
วิกิพีเดย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. Carrageenan (คาราจีแนน). เข้าถึงได้จาก: https://www.chemipan.com.[18 มิถุนายน 2562].
สุทธิวัฒน์ แซ่ฮ้อ. (2560). เยลลี่คาลาจอแนนสูตรน้ำผัก. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: https://www.crdc.kmutt.ac.th/AgriculturalScienceJournal.files/data/509-512.pdf. [11มิถุนายน 2562].
Siamhealth. (2561). โรคไขมันในเลือด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siamhealth.net.
[26 มิถุนายน 2562].