ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ในพนักงานผลิตฆ้อง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยกฤต ยกพลชนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ญาณิฐา แพงประโคน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จารุพร ดวงศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • คมสันต์ ธงชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กันติยา อรรคธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • นรินทร์ โสคำภา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อนันต์เดช พาผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อรทัย สิงห์ราช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน, พนักงานผลิตฆ้อง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตฆ้อง จังหวัดอุบลราชธานี

          วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกลุ่มที่ผลิตฆ้อง ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 30 ครัวเรือน เป็นผู้ผลิตฆ้อง 100 คน คำนวนกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการประมาณสัดส่วนที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % สุ่มตัวอย่างโดยการ Random ได้กลุ่มตัวอย่าง 65 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัย หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ค่าไคสแควร์(Pearson Chi Square)และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้แรงจูงใจในการป้องกัน,แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย( =2.26 S.D.±0.68,  =2.17 S.D.±0.61, =2.15 S.D.±0.67ตามลำดับ) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้แรงจูงใจในการป้องกัน, แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการสูญเสียการได้ยินมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05

References

กฎกระทรวง. (2559). ราชกิจานุเบกษา, ประกาศกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่างและเสียง, เล่มที่ 133 ตอนที่ 91ก, (วันที่ 7 ตุลาคม 2559) หมวด 3 ข้อ 7.

กองทุนทดแทนสำนักงานประกันสังคม. (2563). สถิติโรคจากการประกอบชีพกองทุนเงินทดแทน.สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน.สำนักงานประกันสังคม. กรุงเทพมหานคร.

กรมควบคุมโรค. (2564). กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564 จาก http://envocc. ddc.moph.go.th/contents?g=14

จิราพร ประกายรุ้งทอง และ สุวัฒนา เกิดม่วง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานในกลุ่มคนงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 98-108.

ชัยกฤต ยกพลชนชัย, จารุพร ดวงศรี และ ญาณิฐา แพงประโคน. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือนบ้านบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่9.จังหวัดนครราชสีมา, 15(38), 414-427.

ชนิดาภา มาตย์บัณฑิต. (2561). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(1), 17-33

ดวงเดือน ฤทธิเดช, สุรินธร กลัมพากร และ เพลินพิศ สุวรรณอำไพ. (2560). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 90-109.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาอุบลราชธานี. (2563). ชุมชนฆ้องบ้านทรายมูลจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565 จาก https://ubonratchathani. mots.go.th/news_view.php?nid=459

วาณิชา โขมพัฒน และ ศุภาภาส คำโตนด. (2559). การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานปฏิบัติการสายการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(33), 6-13.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, ถิรพงษ์ ถิรมนัส, และ อนามัย ธีรวิโรจน์. (2543). การศึกษาปัจจัยที่มีการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(3), 88-98.

เสกสรรค์ ทองติ๊บ และ อรัณย์ภัค พิทักษ์พงษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การป้องกันเสียงดังและการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังของผู้ประกอบอาชีพทำครกหิน จังหวัดพะเยา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(2), 155-160

พิรวรรณ ไชยวงค์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากเสียงดังของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565 จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/524?show=full

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics a foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons. 180-181.

Rogers, Ronald W. (1975). Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change. The Journal of Psychology, 91, 93-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-10

How to Cite

ยกพลชนชัย ช., แพงประโคน ญ., ดวงศรี จ., ธงชัย ค., อรรคธรรม ก., โสคำภา น., พาผล อ., & สิงห์ราช อ. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน ในพนักงานผลิตฆ้อง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 13–28. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/247493

ฉบับ

บท

บทความวิจัย