ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนหญิง ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ สังวะลี อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • จุน หน่อแก้ว อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • มะลิ โพธิพิมพ์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • จิราภรณ์ ประธรรมโย อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • ธีรยุทธ อุดมพร อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • ปัทมพร นวนกลาง อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • แสงจ่อย อินทจักร อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • วราภรณ์ สังวะลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าสังข์ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, พฤติกรรมการป้องกัน, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (Cross -Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของนักเรียนหญิงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

           วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา ชั้นปี 1-3 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 389 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square)

           ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 46.53 ปานกลาง ร้อยละ 40.62 และระดับดี ร้อยละ 12.85 มีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.15 ปานกลาง ร้อยละ 25.45 และระดับต่ำ ร้อยละ 14.40 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ สถานภาพสมรสของบิดา มารดา การสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติด การเคยถูกใช้ถ้อยคำลวนลามทางเพศ และการมีบุคคลใกล้ชิดที่มีประวัติตั้งครรภ์ก่อนอายุ 21 ปี 

            จากการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยทางด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครอบครัวและสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ ดังนั้นสถาบันการศึกษา ครอบครัว และผู้ปกครอง ควรสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจ และการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับวัยรุ่นหญิง

References

กรมอนามัย. (2562). ข้อมูลสถานการณ์ตั้งครรภ์-ทำแท้งในไทย. สืบค้น 6 มีนาคม 2564, จากhttp://multimedia.anamai. moph.go.th/help-knowledge/categories/teen/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานผลการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย. สืบค้น 2 มีนาคม 2564, จาก https://www.unicef.org/thailand/media/

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2558-2567. สืบค้น 6 มีนาคม 2564, จาก https://www.dcy.go.th/ webnew/uploadchild/

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2557). แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อ ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสําหรับสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี ระดับมัธยมปลายและนักศึกษา. สืบค้น 6 มีนาคม 2564, จาก www.hed.go.th › linkhed › file

กุสุมา มีศิลป์, นภาภรณ์ สันพนวัฒน์ และเสนอภิรมจิตรผ่อง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 8(1), 18-27.

ชลดา กิ่งมาลา, ทัศนีย์ รวิวรกุล และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2558). ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง. วารสาร

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(3). 25-34

นันทิวา สิงห์ทอง, วรวุฒิ ฤาชา, ปรมินทร์ จันทริมา, ทวิศักดิ์ ทวีชีพ, สุกัญญา เฟืองนา, ศศิภา นามนัย, วรณี ทองดี. (2558). พฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โรงเรียนมัธยมศึกษา ตำบลบ้านแปรง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนคราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น. 80-84). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

นภาพร มีบุญ. (2559). สาเหตุการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น ในเขตพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 7(1), 71-82.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สารวยรื่น, อนงค์นาฏ คงประชา และอรษา ภูเจริญ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (ฉบับที่ 2) (น. 260-272). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2). 112-125.

พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, อลิสา นิติธรรม และสุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาหญิง ระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคา, 36(2). 194-202.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของ. สตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 90-98.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ. (2558). พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในจังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 97-109.

สุทธิพล กิจพิบูลย์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนในหอพักเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). แนวโน้มการตังครรภ์ในวัยรุ่นไทย. สืบค้น 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). การป้องกันเซ็กซ์ในวัยรุ่น. สืบค้น 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). สถานการณ์การคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย ปี 2555. สืบค้น 4 มีนาคม 2564, จาก https://dcy.go.th/webnew/uploadchild/cld/download/file_th_20152002001703_1.pdf

สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคม. โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในรูปแผนที่ทางสังคม ปีงบประมาณ 2556.

McIntyre, Peter and World Health Organization. (‎2006)‎. Pregnant adolescents: delivering on global promises of hope. World Health Organization. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/43368.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

สังวะลี ว., หน่อแก้ว จ., โพธิพิมพ์ ม., เขตบำรุง ว., ประธรรมโย จ., อุดมพร ธ., นวนกลาง ป., อินทจักร แ., & สังวะลี ว. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนหญิง ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(1), 34–46. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/244212

ฉบับ

บท

บทความวิจัย