การพัฒนาการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจก และบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนครบวงจร

ผู้แต่ง

  • กชพรรณ อัญฤาชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลนครปฐม
  • จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ภาศินี สุขสถาพรเลิศ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจกและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลังการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจกและบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนแบบครบวงจร  

วิธีการ: ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาในการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจกและบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนครบวงจร  ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560-กันยายน พ.ศ. 2562 ในโรงพยาบาลนครปฐม

ผลการวิจัย: พบว่ารูปแบบการบริการที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่มีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ 1) วิธีปฏิบัติในการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค  การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย 2) วิธีปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมก่อนทำผ่าตัด การแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด 3) วิธีปฏิบัติในวันผ่าตัด 4) วิธีปฏิบัติวันหลังผ่าตัด 1 วัน ซึ่งผลของการพัฒนารูปแบบบริการนี้ทำให้สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก ลงจากจำนวน 2,236 ราย ในปี 2559 เป็น 1,090 ราย ในปี 2561 และ 1,123 รายในปี 2562 ทำให้ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งช่วยลดการเกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดได้ในผู้ป่วยโรคต้อกระจก เช่น การติดเชื้อ และการพลัดตกหกล้ม ลดต้นทุนในการรักษาแบบผู้ป่วยในได้ 3,222,822 บาท ในปี 2561 และ 2,910,411 บาท ในปี 2562 ทำให้ความแออัดในโรงพยาบาลลดลง ช่วยให้พัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยและการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดจำนวนครั้งการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยจาก 5-7 ครั้งในปี 2559 เป็น 2 ครั้งในปี 2561 และ 2562 ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้รับบริการมากขึ้น 

References

1. กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2560. [online] สืบค้น 29 มิถุนายน 2562, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/125

2. ธิดา ยุคันตวรานันท์. (2559). การพัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในเขตสุขภาพที่ 10. วิสัญญีสาร, 42(2): 116-125.

3. โรงพยาบาลนครปฐม. (2560). สถิติหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก. นครปฐม:โรงพยาบาลนครปฐม.

4. ศศิธร สุทธิสนธิ์ . (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตา ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัย
คริสเตียน, 24(1) : 98-107.

5. สมคิด มะโนมั่น. (2561). คุณภาพบริการผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบไม่ค้างคืน โรงพยาบาลนครปฐม. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 6 ประจำปี. 2561, 22 มิถุนายน 2561 โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี. นครปฐม:คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

6. สุพัตรา ฉาไธสง มุกดา หนุ่ยศรี และ วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นความถี่สูงในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. บทความฉบับเต็มการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34, 27 มีนาคม 2558 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

7. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

8. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่มที่ 1 : การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.

9. อติพร ตวงทอง วณิชา ชื่นกองแก้ว และ อภิชาต สิงคาลวณิช. (2558). ความรู้พื้นฐานทางจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.

10. Nowak, M. S., Grzybowski, A., Michalska-Maecka, K., Szaflik, J. P., Kozio, M., Niemczyk, W., & Grabska-Liberek, I. (2019). Incidence and Characteristics of Endophthalmitis after Cataract Surgery in Poland, during 2010-2015. International journal of environmental research and public health, 16(12), 2188.

11. Stagg, B. C., Talwar, N., Mattox, C., Lee, P. P., & Stein, J. D. (2018). Trends in Use of Ambulatory Surgery Centers for Cataract Surgery in the United States, 2001-2014. JAMA ophthal mology, 136(1), 53–60.

12. van den Oetelaar, W. F., van Stel, H. F., van Rhenen, W., Stellato, R. K., & Grolman, W. (2016). Balancing nurses' workload in hospital wards: study protocol of developing a method to manage workload. BMJ open, 6(11), e012148.

13. World Health Organization. (2013). Universal eye health: A Global action plan 2014-2019. Spain.

14. Zhu, Y., Chen, X., Chen, P., Wu, J., Hua, H., & Yao, K. (2017). The occurrence rate of acute-onset postoperative endophthalmitis after cataract surgery in Chinese small- and medium-scale
departments of ophthalmology. Scientific reports, 7, 40776.

15. Zhuang, M., Cao, J., Cui, M., Yuan, S., Liu, Q., & Fan, W. (2018). Evaluation of day care versus inpatient cataract surgery performed at a Jiangsu public Tertiary A hospital. BMC ophthalmology, 18(1), 134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-31

How to Cite

อัญฤาชัย ก., เทพสุวรรณ์ จ., & สุขสถาพรเลิศ ภ. (2020). การพัฒนาการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยกลุ่มโรคต้อกระจก และบริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืนครบวงจร. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 33(1), 21–30. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/241974

ฉบับ

บท

บทความวิจัย