การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลเอกชน

ผู้แต่ง

  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย สาขาบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม
  • อุษา ตันทพงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม
  • นุชจรี ฮะค่อม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม
  • น้ำฝน ปฎิการมณฑล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม
  • พัทธนันท์ กมลศิริอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงาน, ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น, โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ในโรงพยาบาลเอกชน

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 200 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงาน ใช้มาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่ง (First order CFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second order CFA)                

ผลการวิจัย: เมื่อทดสอบด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า ความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น เป็นไปตามกรอบแนวคิดกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยโมเดลขององค์ประกอบมีค่าสถิติเป็นไปตามเกณฑ์และมีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างมีนัยสำคัญ ( c2 2nd order = 42.04, df= 61, p-value = 0.96, RMSEA = 0.00, GFI = 0.92, AGFI = 0.92, CFI = 1.00, NFI = 0.95, RMR = 0.015) จำนวนองค์ประกอบของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานมี  4 องค์ประกอบ และมีจำนวนตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตามเกณฑ์ (λ = 0.63-0.75) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงาน ประกอบด้วย การสำรวจความคิดด้านนวัตกรรม (3 ตัวชี้วัด) การเกิดความคิดด้านนวัตกรรม (3 ตัวชี้วัด) การนำความคิดด้านนวัตกรรมสู่การยอมรับ (4 ตัวชี้วัด) และการใช้นวัตกรรมในการทำงาน (3 ตัวชี้วัด)         

การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารในองค์กรพยาบาลควรมีเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือและมีความตรงเชิงโครงสร้างในการประเมินหรือการวัดพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น เพื่อใช้ประเมินศักยภาพการบริหารคนให้มีพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมหรือคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในงาน โดยใช้หลักการบริหารคนเก่ง ที่ส่งผลต่อการเพิ่มนวัตกรรมในองค์กรพยาบาล

References

กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพ. บริการพยาบาล ประจําปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวันจํากัด.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2562). ภาวะผู้นําด้านนวัตกรรมสําหรับการบริหารการพยาบาล. วารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 260-267

สำนักการพยาบาล สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2555). ยุทธศาสตร์การบริการพยาบาลระดับประเทศ พ.ศ. 2556-2560. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Anderson, N. R., Dreu, C. K. W. & Nijstad, B. A. (2004), The routinization of Innovation research: a constructively critical review of the state-of-the-science, Journal of Organizational Behavior, 25(2), 147-174.

Asurakkody, T. A. & Shin S. Y. (2018). Innovative behavior in nursing context: Asian Nursing Research, 12, 237-224.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership. Mahwah, NJ: L. I Lawrence Erlbaum.

Brislin, R. W. (1986). The wording and translation of research instruments. In W. J. Lonner & J. W. Berry (Eds.). cross-cultural research and methodology series, Field methods in cross-cultural research. Thousand Oaks. CA. US: Sage Publications. 137-164.

Burns, J. M., & Grove, S. K. (2001). The practice of nursing research, conduct, critique, and utilization (4thed.). Philadelphia: W. B. Saunders.

De Jong, J., & Hartog, D. (2008). Innovative Work behavior: Measurement and validation. EIM Business and Policy Research report. Netherlands: Amsterdam Business School.

De Jong, J., & Hartog, D. (2010). Measuring innovative work behavior. Creativity and innovation management, 19, 23-36. DOI:10.1111/j.1467-8691.2010.00547.

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trial. Saudi Journal of Anaesthesia, 10(3), 328–331. doi:10.4103/1658- 354X.174918.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Janssen, O. (2000). Job demands, perceptions of effort-reward fairness and innovative work behaviour. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 73(3), 287-302.

Kaya, N., Turan, N., & Aydin, G. O. (2016). Innovation in Nursing: A Concept Analysis. Journal of Community & Public Health Nursing, 2(1), DOI:10.4172/2471-9846.1000108.

Mabrouk, R., Rahman. R. I., & Farghaly, S. M. (2019). Application of Optimis’ Talent Management Model for Head Nurses on Nurses’ Job Crafting and Innovation. IOSR Journal of Nursing and Health Science, 8(5), 81-95

Marquis, B. L. & Huston, C. J. (2017). Leadership Role and Management Function in Nursing: theory and application. (9th ed.). Philadephi, PA: Lippincott, William, & Wilkins.

Weng, M. H., Ha, J. L., Wang, Y. C. & Tsai, C. L. (2012). A study of the relationship among service innovation customer value and customer satisfaction: an industry in TAIWAN. International Journal of Organizational

Innovation, 4(3), 98-112.

Wuttirakkajon, N. (2017). Private Hospital Business: Analysis of Industry Update. Government Savings Bank Research Center for Economy Business and Fundamental Economy. Retrieved from https://www.gsb.or.th/getattachment/

Xerri, M . (2013). Workplace relationships and the innovative behavior of nursing employees: a social exchange perspective. Asia pacific Journal of Human Resources, 51(1), 102-123.

Zhou, J. & Shalley C. E. (2003). Research on employee creativity: A critical review and proposal for future research directions, In: Martocchio, J. J. & G. R. Ferris, Research in personnel and human resource management, Oxford: Elsevier.

Zhou, J. & George, J. M. (2001). When job dissatisfaction leads to creativity: encouraging the expression of voice, Academy of Management Journal, 44, 682-696.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-30

How to Cite

สิงห์ช่างชัย เ., ตันทพงษ์ อ., ฮะค่อม น., ปฎิการมณฑล น., & กมลศิริอนันต์ พ. (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมการทำงานของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(2), 44–55. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/247262

ฉบับ

บท

บทความวิจัย