การแก้ไขปัญหาการเกิดของเสียประเภทรอยขาดระหว่างการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์

ผู้แต่ง

  • บุริม นิลแป้น สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การควบคุมคุณภาพ, ผังแสดงเหตุและผล, การออกแบบเครื่องจักรกล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดของเสียประเภทรอยขาดระหว่างกระบวนการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์ของบริษัทแห่งหนึ่ง ด้วยการประยุกต์ใช้หลักการของวิธีการควบคุมคุณภาพ โดยมีเป้าหมายสามารถลดปริมาณชิ้นงานของเสียประเภทรอยขาดของขาโคมไฟดาวน์ไลท์ลงได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์

วิธีการวิจัย : กระบวนการแก้ไขปัญหาเริ่มจากการศึกษาขั้นตอนการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์โดยดำเนินการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์จากวัตถุดิบปริมาณ 50 กิโลกรัม ทำการคัดแยกชิ้นงานที่ผ่านและชิ้นงานที่ถือเป็นของเสียที่เกิดขึ้น บันทึกปริมาณของเสียประเภทการขาดที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต จากนั้นผู้วิจัยพิจารณาหาแนวทางการแก้ไข โดยการประยุกต์ใช้หลักการควบคุมคุณภาพ กระบวนการแก้ไขปัญหาเริ่มจากใช้แผนผังแสดงเหตุและผลเข้ามาวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดรอยขาดระหว่างการผลิต ตั้งสมมติฐานของสาเหตุที่อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาและทำการทดสอบเบื้องต้น การแก้ไขปัญหาได้ดำเนินการโดยออกแบบระบบกลไกและจัดสร้างอุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อใช้ในการป้อนชิ้นงานเพื่อทดแทนการใช้คนปฏิบัติการและสามารถควบคุมความกว้างของเหล็กที่เข้าสู่กระบวนการได้ จากนั้นทำการติดตั้งเข้ากับตัวปั๊มชุดเดิม แล้วจึงดำเนินการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์เพื่อทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างก่อนและหลังทำการติดตั้งอุปกรณ์

ผลการวิจัย : ผลจากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่าก่อนจะแก้ไขปัญหา การผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์ที่มีการใช้วัตถุดิบจำนวน 50 กิโลกรัมนั้น มีการเกิดชิ้นงานประเภทรอยขาดเป็นจำนวน 268 ชิ้น ภายหลังจากได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่ได้วิเคราะห์และจัดสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น พบว่าเกิดชิ้นงานที่มีรอยขาดเพียง 70 ชิ้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าการติดตั้งอุปกรณ์สามารถลดของเสียที่เป็นชิ้นงานที่เป็นรอยขาดได้เป็นจำนวน 198 ชิ้น คิดเป็น 73.8 เปอร์เซ็นต์

Author Biography

บุริม นิลแป้น, สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประวัติการศึกษา :

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญาตรี สาขาวิศวกรรมเกษตร จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญาโท สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ประวัติการทำงาน :

-  ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

งานวิจัยที่สนใจ :

-  การควบคุมคุณภาพในการผลิต, การแก้ไขปรับปรุงปัญหาในกระบวนการผลิต

References

กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2556). หลักการควบคุมคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

โกลบอลเฮ้าส์. (2562). BEC โคมไฟดาวน์ไลท์แอลอีดี 4 นิ้ว E27 TDL4/S ขอบเงิน. (น.10). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก www.globalhouse.co.th/product/detail/8851564126901/596#gallery-1.

ชาญ ถนัดงาน และ วริทธิ์ อึ้งภากรณ์. (2556). การออกแบบเครื่องจักรกล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด; 2556.

ณัฐนันท์ บุญเสนอ. (2560). การลดของเสียในกระบวนการปั๊มขึ้นรูป. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ธรรม์ณชาติ วันแต่ง. (2561). เทคโนโลยีแม่พิมพ์ปั๊มตัดโลหะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด.

นพมณี วัฒนสังสุทธิ์ และวรพจน์ มีถม. (2564). การปรับปรุงกระบวนการปั๊มขึ้นรูปในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมม, ฉบับที่ 17, 79-98.

มารวย เพ็งอุดม. (2557). การลดปริมาณสูญเสียกระป๋องจากกระบวนการผลิต กรณีศึกษา บริษัท เอเชียติค อุตสาหกรรมการเกษตรจำกัด. (น.4) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.research-system. siam.edu/images/01Poon/2._

มารวย_เพงอดม/บทที่_2.pdf.

ศุภชัย นาทะพันธ์. (2561). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด.

Modern Manufacturing. (2560). ตีโจทย์ปัญหากระบวนการผลิตด้วย CAUSE AND EFFECT DIAGRAM. (น.11). สืบค้น

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.mmthailand.com/กระบวนการผลิต-cause-and-effect-diagram/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

How to Cite

นิลแป้น บ. (2021). การแก้ไขปัญหาการเกิดของเสียประเภทรอยขาดระหว่างการผลิตขาโคมไฟดาวน์ไลท์ . วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(2), 98–115. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/245823

ฉบับ

บท

บทความวิจัย