พารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดชิ้นงานด้วยเครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ทองเดชาสามารถ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • ชัยนิกร กุลวงษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • กิตติศักดิ์ วรรณศรี บริษัท ชิซุ อิเล็คทริค (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

พารามิเตอร์ที่เหมาะสม, การทำความสะอาดชิ้นงาน, เครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเพื่อหาพารามิเตอร์ (ตัวแปร) ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดชิ้นงานด้วยเครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก

วิธีการวิจัย: เครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็กที่ใช้ในการทดสอบควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมเชิงตัวเลข ชิ้นงานทดสอบเป็นเหล็กแบน SPHC ที่มีขนาดความกว้าง 32 มม. ความยาว 80 มม. และความหนา 4 มม. นำมาผ่านกระบวนการเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิม ด้วยการแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก เป็นระยะเวลา 15 วัน ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วย 3 พารามิเตอร์ ได้แก่ ระยะห่างระหว่างหัวพ่นทรายกับชิ้นงานเท่ากับ 20, 25 และ 30 มม. แรงดันลมที่ใช้ในการพ่นทรายเท่ากับ 65, 70 และ 75 ปอนด์/ตร.นิ้ว (psi) และอัตราการป้อนเท่ากับ 60, 80 และ 100 มม./นาที

ผลการวิจัย: ผลการทดสอบพบว่า ที่ระยะห่างระหว่างหัวพ่นทรายกับชิ้นงาน 25 มม. แรงดันลมที่ใช้ในการพ่นทราย 65 ปอนด์/ตร.นิ้ว และอัตราการป้อน 60 มม./นาที มีอัตราส่วนระหว่างค่าความหนาเฉลี่ยของสนิมที่ถูกกำจัดได้ต่อเวลา น้อยที่สุด เท่ากับ 0.017 มม./นาที ส่วนที่ระยะห่างระหว่างหัวพ่นทรายกับชิ้นงาน 30 มม. แรงดันลมที่ใช้ในการพ่นทราย 75 ปอนด์/ตร.นิ้ว และอัตราการป้อน 80 มม./นาที มีอัตราส่วนระหว่างค่าความหนาเฉลี่ยของสนิมที่ถูกกำจัดได้ต่อเวลา มากที่สุด เท่ากับ 0.036 มม./นาที สำหรับค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดชิ้นงานด้วยเครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก คือ ที่ระยะห่างระหว่างหัวพ่นทรายกับชิ้นงาน เท่ากับ 30 มม. แรงดันลมที่ใช้ในการพ่นทราย เท่ากับ 75 ปอนด์/ตร.นิ้ว และอัตราการป้อน เท่ากับ 80 มม./นาที

References

จุฑาทิพย์ ทองเดชาสามารถ และ ชัยนิกร กุลวงษ์. (2556). เครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

จุฑาทิพย์ ทองเดชาสามารถ, ชัยนิกร กุลวงษ์ และ สรกฤช ศรีเกษม. (2557). การหาค่าความเหมาะสมที่สุดในการควบคุมเครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก. การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 6 (น. D473–D476). เชียงใหม่: โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว.

ภาคภูมิ มงคลสังข์. (2557). การเปรียบเทียบความหนาเหล็กภายหลังการกำจัดสนิมเหล็กด้วยมือขัดกับเครื่องพ่นทราย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

อานนท์ วงษ์แก้ว. (2557). การประเมินกำลังรับแรงดัดและความเหนียวของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เหล็กเสริมเกิดสนิม (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Enviro-Management & Research, Inc. (2001). Abrasive blasting operations: Engineering Control and Work Practices Manual. Washington D.C.: National Institute for Occupational Safety and Health.

CIN. (2011). Standard ISO 8501: Corrosion Protection of Steel Structures by Painting. Retrieved October 13, 2021, from https://www.academia. edu/9826217/STANDARD_ISO_8501_Corrosion_Protection_of_Steel_Structures_by_Painting

IST. (n.d.). Blasting technical information. Retrieved June 10, 2021, from http://istsurface.com/wp-content/uploads/2019/09/ISTblast-Blasting-Technical-Guide.pdf

Parashar, S. & Parashar, A. K. (2015). Presurface treatment of all materials by sandblasting. International Journal of Advance Engineering and Research Development, 2(1), 38-43.

Toan, N. V., Miyashita, H., Toda, M., Kawai, Y., & Ono, T. (2013). Fabrication of an hermetically packaged silicon resonator on LTCC substrate. Microsystems Technology, 19, 1165–1175.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

How to Cite

ทองเดชาสามารถ จ., กุลวงษ์ ช., & วรรณศรี ก. (2021). พารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดชิ้นงานด้วยเครื่องพ่นทรายอัตโนมัติขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(2), 87–97. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/245565

ฉบับ

บท

บทความวิจัย