รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในภาคอีสานตอนบน

Authors

  • ชูพงษ์ คำจวง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบัวสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
  • สรชัย พิศาลบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  • อรรถ นันทจักร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ฐิตาภรณ์ ภูบุญบุตร อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Keywords:

การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, Buddhist Tourism

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในภาคอีสานตอนบน  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ  1) สำรวจการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบนในปัจจุบัน  2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมตลาดบริการกับคุณภาพการให้บริการการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน  และ  3) พัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน  ประชากรในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ ผู้ให้บริการ จำนวน 594 คน และนักท่องเที่ยว ที่ระบุจำนวนไม่ได้   กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  แบ่งออกเป็น  2  กลุ่มตามกลุ่มของประชากร  ได้แก่ ผู้ให้บริการ  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  จำนวน  210  คน  และนักท่องเที่ยวสุ่มอย่างง่าย  จำนวน  398  คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  อายุระหว่าง 36 - 45 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้  20,001 - 30,000 บาท  ลักษณะของการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานธรรมโดยคณะสงฆ์ ประกอบด้วยการสำรวจความต้องการของนักท่องเที่ยว การวางแผนการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นแผน 1 ปี  องค์ประกอบในการกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวคือ ความพร้อมด้านวัฒนธรรม ด้านกายภาพ  ด้านการจัดการ  และความพร้อมของพระสงฆ์ ตามลำดับ ด้านคุณภาพการให้บริการ  ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่  ความน่าเชื่อถือ การเข้าถึงการบริการ สมรรถภาพในการบริการ การตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และความเข้าใจและรู้จักลูกค้า  ตามลำดับ 2)  การจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน  มีค่าเฉลี่ยในระดับมากทุกด้าน  ได้แก่  ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว  บุคลากร/เจ้าหน้าที่ กระบวนการ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  การส่งเสริมการขาย ช่องทางการ

จำหน่าย และราคา ตามลำดับ  3) ปัจจัยส่วนประสมตลาดบริการ  กับคุณภาพการให้บริการการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ  4) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน  ควรคำนึงถึงส่วนประสมตลาดบริการและคุณภาพการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว  ซึ่งพบว่า  ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเป็นจุดแข็งที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว  ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพช่วยเสริมและเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว  ด้านบุคลากรควรได้รับการพัฒนาให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนใกล้เคียงกับการพัฒนาวัฒนธรรมการท่องเที่ยว  ด้านกระบวนการและการส่งเสริมการขายยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่หากพัฒนาช่องทางการตลาดทางอินเตอร์เน็ทให้สะดวกยิ่งขึ้น จะส่งผลให้มีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ด้านราคายังไม่มีการกำหนดค่าบริการที่แน่นอน  อย่างไรก็ตามราคาสินค้าทั่วไปยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม

คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงพุทธ

 

Abstract

The research method, both quantitative and qualitative, was applied for the model of Dharma park tourism management in upper E-Sarn region. The objectives of this research were to 1) survey the Dharma park tourism management in upper E-Sarn region, 2) analyze the relationship between mix factors affecting the service market and the service quality of Dharma park tourism management in upper E-Sarn region and 3) develop model of Dharma park tourism management in upper E-Sarn region. The sample was divided into 2 groups according to population: 584 facilitators and tourist. The random sampling was used for facilitators, 210 people and simple sampling was used for tourists, 398 people.

This research found that 1) the majority of facilitators were female whose age was 36 – 45 years old. Their level of education was primary school and their income was 20,001 – 30,000 Baht. The characteristic of Dharma park tourism management by hierarch included tourist activities such as the preparedness in terms of culture, physical, management and readiness of monk, respectively. For the service quality, the average of every aspect was in high level such as reliability, service accession, service potentiality, meet the needs of tourist and understanding and knowing customer, respectively. 2) Every aspect of Dharma park tourism management in upper E-Sarn region was in high level such as tourist production, staff, procedure, physical environment, promotion, distribution and price, respectively. 3) The mix factors affecting the service quality and the service quality of Dharma park tourism management in upper E-Sarn region had relation in high level (r = 0.69) and were statistically significant in 0.05 level. 4) The model of Dharma park tourism management in upper E-Sarn should consider mix factors affecting the service quality and the service quality. The tourist productivity was a strength which influenced on the tourists’ motivation and decision. The physical environment was a good factor for tourism and the staff should be trained to be more professional as well as enhance local participation and develop a tourist culture. There was no exact model for promotion but if there was an online market, the number of tourist may increase. There was no exact price; however, it was in moderate level.

Keywords : Buddhist Tourism

Downloads

How to Cite

คำจวง ช., พิศาลบุตร ส., นันทจักร์ อ., & ภูบุญบุตร ฐ. (2013). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอุทยานธรรมในภาคอีสานตอนบน. Creative Science, 5(9), 83–96. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9916