การพัฒนาแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ศิริพรรณ สะอาดสิทธิศักดิ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรในจังหวัดพิษณุโลก ของสารวัตรเกษตร  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 โดยการสัมภาษณ์สารวัตรเกษตร  จำนวน 10 คน  เพื่อสร้างแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร แล้วทดลองใช้แนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ กับผู้ประกอบการจำนวน 52 ราย แล้วนำผลการทดลองมาประชุมสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จำนวน 10 คน โดยวิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบประเมิน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย  พบว่า

1. แนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 มีดังนี้ สารวัตรเกษตรต้องทำหนังสือแจ้งเตือนก่อนใบอนุญาตหมดอายุ 60 วัน และแจ้งเตือนทางวิทยุกระจายเสียงรวมทั้งออกไปตรวจร้านก่อนใบอนุญาตหมดอายุ การตรวจการจัดร้านดูอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีกลิ่นเหม็น จัดวางวัตถุอันตรายแยกจากสินค้าประเภทอื่น การตรวจสิ่งที่ทำเทียมวัตถุอันตรายแท้ทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน ตรวจวัตถุอันตรายที่ผลิตขึ้นโดยมีสารสำคัญน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อน การตรวจดูเลขทะเบียนวัตถุอันตรายที่ระบุไว้บนฉลากของทุกผลิตภัณฑ์ การตรวจดูวัตถุอันตรายที่หมดอายุใช้งานตามที่แสดงไว้บนฉลาก การตรวจดูความถูกต้องของชื่อการค้า ชื่อทางเคมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารสำคัญ การคัดเลือกวัตถุอันตรายที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน เสื่อมคุณภาพ ผลิตนานกว่า 2 ปี ควรมีการแก้ไขแบบฟอร์มการตรวจร้าน (ภค.1 )และแบบฟอร์มการเก็บตัวอย่าง (ภค.2) ใหม่เพื่อให้บันทึกข้อมูลครบถ้วน ผู้ประกอบการต้องแสดงใบประกาศนียบัตรให้เห็นชัดเจนเพื่อตรวจสอบข้อมูล ถ้าฝึกอบรมครบ 5 ปี ให้ส่งรายชื่อผู้ประกอบการเข้าอบรมในครั้งต่อไป

2. ผลการประเมินแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำไปทดลองใช้กับผู้ประกอบการ จำนวน 52 ราย สามารถแก้ไขปัญหาการไม่ต่ออายุใบอนุญาต การจัดร้านไม่ถูกสุขลักษณะ จำหน่ายวัตถุอันตรายปลอม จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ไม่ได้มาตรฐาน จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่ได้แสดงใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมและไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อครบ 5 ปี ของผู้ประกอบการได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

Abstract

The  purposes of this research were to develop and evaluate  the  methods  for  agricultural  hazardous  substance shop  inspection in  Phitsanulok  by  agricultural  inspectors from the office of agricultural  research  and  development  region 2. It is an action  research  with  10 agricultural inspectors who were  interviewed  to create the methods for the inspection and was trial out on 52 entrepreneurs under  the experts, evaluation. Then the 10 agricultural  inspectors had a meeting with focus group towards discussion. The instruments used in this research were interview, synthesized  documents, evaluation forms.  The data were analyzed by utilizing frequency and percentage  and  standard deviation.

The findings  were  as  follows:

1.  The  results  revealed  that  the agricultural  inspectors had to notify  the  entrepreneurs through the radio  broadcasting to renew the license and  went  to inspect the shops  60 days  before the expiry  date of the license.  The  agricultural inspectors  had  to  control the entrepreneurs  to  comply  with  the regulations; that is, they had to put up hazardous goods in good  ventilated areas  distant from other goods. The inspectors  had  to check the registered dates and expiry dates of the goods, checked the chemical names, classified the non standardized hazardous goods and  deprecated goods or any goods manufactured longer than 2 years. The shop inspection form 1 and the sample collection  form 2 need to be reviewed for the completion  of information collection.  Furthermore, the entrepreneurs had to show the certificate of an  agricultural  hazardous  substance  selling controller training course and  had attend the training once again after  5  years.

2.  The evaluation of the methods of agricultural hazardous  shop inspection could help  solve the  problems of  52 entrepreneurs in renewing the license, setting up the hazardous goods properly, selling only standardized goods, showing their certificate of their trainings and they all provided good cooperation.

Downloads

How to Cite

สะอาดสิทธิศักดิ์ ศ. (2013). การพัฒนาแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. Creative Science, 1(1), 97–114. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10243