ศึกษาการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เข้าปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 4
Keywords:
สัปปายะ 7, สำนักปฏิบัติธรรม, พิษณุโลกAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์และรูปแบบการฝึกอบรม ตลอดจน การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในการศึกษาสภาพการณ์ตามหลักสัปปายะ 7 และรูปแบบการฝึกอบรม ได้แก่ ผู้เข้าปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิษณุโลก แห่งที่ 4 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 322 คน ส่วนการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม ใช้กลุ่มตัวอย่างจาก บุคลากรในสำนักฯ และผู้เข้าปฏิบัติธรรม จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อสภาพการณ์ตามหลักสัปปายะ 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.45, S.D.=0.41) ทั้งด้านบรรยากาศและสถานที่ในการฝึกปฏิบัติ การใช้ภาษาที่เหมาะสม การมีเจ้าหน้าที่ ๆ ที่เป็นกัลยาณมิตร สถานที่ตั้งเดินทางสะดวก การบริการด้านอาหารเครื่องดื่ม และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติ ส่วนรูปแบบการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.37, S.D.=0.44) ทั้งด้านวิธีการฝึกอบรม การบริหารจัดการ วิทยากร และเนื้อหาสาระธรรม แนวทางในการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมพบว่า ควรรักษาสภาพการณ์ตามหลักสัปปายะ 7 ให้คงเดิม วิธีการฝึกอบรมยึดหลักสติปัฏฐาน 4 ตามแบบของพระพุทธเจ้า การฝึกอบรมไม่มีรูปแบบที่ตายตัวสอนตามสภาวะผู้เข้าปฏิบัติธรรม การบริหารจัดการ ควรมีการมอบหมายงาน และมีการปรับหลักสูตรให้เข้มข้นขึ้นเพื่อเหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว วิทยากรควรมีการฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในการเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณที่จะพาผู้เข้าปฏิบัติธรรมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).