ความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • สุภาวดี แหยมคง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก

Keywords:

ความหลากหลาย, ลักษณะภายนอก, ไก่พื้นเมือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองในพื้นที่ 4 อำเภอจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อำเภอวังทอง บางกระทุ่ม พรหมพิราม และเมืองพิษณุโลก โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจำนวน 200 ครัวเรือน และหาค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าเกษตรกรเลี้ยงไก่สายพันธุ์ประดู่หางดำมากที่สุด (ร้อยละ 58.00) และรองลงมา คือ ไก่เหลืองหางขาว (ร้อยละ 24.00) ไก่ลายหางขาว (ร้อยละ 8.00) ไก่เทาหางขาว (ร้อยละ 7.50) ไก่นกแดงหางแดง (ร้อยละ 2.00) และไก่ด่าง (ร้อยละ 0.50) เมื่อพิจารณาลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองโดยภาพรวมทุกสายพันธุ์ พบว่ามีลักษณะหงอนหินมากที่สุด (ร้อยละ 89.46) รองลงมา คือ มีหางพัด (ร้อยละ 77.00) ตาสีดำ (ร้อยละ 67.84) ปากสีขาวอมเหลือง (ร้อยละ63.00) สีสร้อยคอ (ร้อยละ 57.50) สร้อยหลังมีสีประดู่ (ร้อยละ 55.50) แข้งมีสีดำ (ร้อยละ 55.50) หางกะลวยมีสีดำ (ร้อยละ 46.50) สร้อยปีกมีสีประดู่ (ร้อยละ 36.50) และมีปีกนอก (ร้อยละ 34.50) สำหรับไก่พื้นเมืองทุกสายพันธุ์ที่สำรวจมีลักษณะหงอนหิน ส่วนลักษณะภายนอกอื่นๆ พบว่ามีความหลากหลายของลักษณะตามอุดมทัศนีย์ของแต่ละสายพันธุ์ การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าไก่พื้นเมืองในปัจจุบันมียีนจากสายพันธุ์อื่นปนอยู่ จึงเสนอว่าควรมีการรวบรวมสายพันธุ์แท้ของไก่พื้นเมืองไว้เพื่อป้องกันการปนยีนจากสายพันธุ์อื่น

 

Downloads

How to Cite

แหยมคง ส. (2016). ความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 15(2), 63–73. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/65279

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)