ความหลากหลายทางชีวภาพและการกระจายตัวของเห็บ ในภาคใต้ของประเทศไทย
Keywords:
เห็บ ความหลากหลายทางชีวภาพ, การกระจายตัว, ภาคใต้ของประเทศไทยAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการกระจายตัวของเห็บในภาคใต้ของประเทศไทยการเก็บตัวอย่างได้สำรวจเห็บใน 10 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราชสุราษฎร์ธานีสงขลา ตรัง ชุมพร พัทลุง ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และปัตตานี รวมทั้งหมด 36 อำเภอ เห็บถูกดึงจากโฮสต์ ข้อมูลการเก็บตัวอย่างประกอบด้วย ชนิดของโฮสต์และสถานที่เก็บระยะและชนิดของเห็บถูกระบุโดยสังเกตลักษณะทางสัณฐานภายนอกตามหลักอนุกรมวิธานจากการเก็บตัวอย่าง เห็บทั้งหมด 651 ตัว ถูกเก็บจากโฮสต์ 7 ชนิด ได้แก่ สุนัข แมว วัว ไก่ นกยูง กวางและสมเสร็จ และจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ผนังบ้านและพุ่มไม้ในป่า พบเห็บ 2 จีนัส คือ Haemaphysalis และ Rhipicephalus โดยแบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ Haemaphysalissp., H. lagrangei, H. wellingtoni, Rhipicephalus sp., R. microplus และ R. sanguineus s.l.พบว่ามีความจำเพาะของเห็บและโฮสต์โดย H. wellingtoniพบในกลุ่มสัตว์ปีกได้แก่ ไก่ และนกยูง R. microplus ส่วนใหญ่พบในวัว H. lagrangei พบในสมเสร็จและกวาง R. sanguineus s.l. พบในโฮสต์หลายชนิดแต่ส่วนใหญ่พบในสุนัข เมื่อศึกษาด้านการกระจายตัวของเห็บพบว่า ในภาคใต้ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกมีความคล้ายคลึงกัน เช่น ในด้านชนิดของเห็บที่พบจากโฮสต์กลุ่มเดียวกัน ทั้งสุนัข วัว และไก่ ถึงแม้ว่าการศึกษาครั้งนี้พบ H. Lagrangei เฉพาะฝั่งตะวันออกของภาคใต้ แต่ชนิดของโฮสต์จากงานวิจัยครั้งนี้ก็พบเฉพาะในกวางและสมเสร็จ คณะผู้วิจัยไม่สามารถเก็บเห็บจากโฮสต์สองชนิดนี้ได้ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งควรมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมที่น่าสนใจ คือ R. sanguineus s.l. เป็นเห็บที่พบมากที่สุดและกระจายไปทั่วภาคใต้ทั้งสองฝั่ง
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).