ความหลากหลายของแอกติโนแบคทีเรียที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพทางชีววิทยาของวัดราชบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • สุจิตกัลยา มฤครัฐอินแปลง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, การเสื่อมสภาพทางชีววิทยา, แอกติโนแบคทีเรีย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของแอกติโนแบคทีเรียที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพทางชีววิทยาของโบราณสถาน วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการเก็บตัวอย่างในฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว และศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ศึกษาปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดโดยการนับจำนวนตามวิธีมาตรฐาน แยกแอกติโนแบคทีเรียให้บริสุทธิ์โดยใช้อาหาร starch casein agar ศึกษาความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิ รวมทั้งความหลากหลายของเชื้อที่แยกได้ ผลการศึกษาพบจุลินทรีย์ที่หลากหลายชนิดและพบว่าตัวอย่างที่เก็บในฤดูฝนมีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดสูงสุด ผลการแยกเชื้อโดยใช้อาหาร starch casein agar สามารถแยกแอกติโนแบคทีเรียได้ทั้งหมด 49 ไอโซเลต ศึกษาความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิของเชื้อพบว่าสามารถจัดกลุ่มเชื้อได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผลิตสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์เป็นกรดและเปลี่ยนสีของบรอมไทมัลบลูจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มี 32 ไอโซเลต กลุ่มที่ 2 ผลิตสารทุติยภูมิที่มีฤทธิ์เป็นด่างและเปลี่ยนสีของบรอมไทมัลบลูจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน มี 11 ไอโซเลต และกลุ่มที่ 3 ผลิตสารทุติยภูมิที่ไม่เปลี่ยนสีของบรอมไทมัลบลู มี 6 ไอโซเลต เมื่อสุ่มจำแนกชนิดด้วยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA พบว่า มีชนิดที่หลากหลาย คือ Streptomyces sp., S. mutabilis, และ Achromobacter sp. จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1     ส่วน S. indicus และ S. rubrogriseus จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ในขณะที่ S. viridochromogenes และ                  S. vinaceusdrappus จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3

Downloads

How to Cite

มฤครัฐอินแปลง ส. (2016). ความหลากหลายของแอกติโนแบคทีเรียที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพทางชีววิทยาของวัดราชบูรณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Life Sciences and Environment Journal, 16(2), 300–311. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/65268

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)