คำเรียกขานในภาษาไทยตามปัจจัยอายุ เพศ และความสัมพันธ์ของผู้พูด

Authors

  • วริษา สารวิทย์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

คำเรียกขาน, วัยรุ่น, วัยผู้ใหญ่, ความสัมพันธ์ของผู้พูด

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำเรียกขานในภาษาไทยตามปัจจัยอายุ เพศ และความสัมพันธ์ของผู้พูด โดยศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำเรียกขานของวัยรุ่น และผู้ใหญ่ ตามปัจจัยทางสังคม 3 ปัจจัย ได้แก่ อายุ เพศ และความสัมพันธ์ของผู้พูด ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นมีการใช้คำเรียกขานหลากหลายมากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบการใช้คำเรียกขานของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตามปัจจัยทางสังคม 3 ปัจจัย พบว่าในปัจจัยอายุ การใช้คำเรียกขานเรียกตนเองนั้น ผู้ใหญ่เพศหญิงมีจำนวนการใช้คำเรียกขานมากกว่าวัยรุ่นเพศหญิง ในขณะที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่เพศชายมีจำนวนการใช้คำเรียกขานเท่ากัน ส่วนการใช้คำเรียกขานเรียกคู่สนทนานั้น วัยรุ่นทั้งเพศชายและเพศหญิงมีการใช้คำเรียกขานจำนวนมากกว่าผู้ใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิง สำหรับปัจจัยเพศ ในการใช้คำเรียกขานเรียกตนเองนั้น วัยรุ่นเพศหญิงนั้นมีจำนวนการใช้คำเรียกขานในการเรียกตนเองกับคู่สนทนาทั้งเพศชายและหญิงมากกว่าผู้ใหญ่เพศหญิง ในขณะวัยรุ่นเพศชายนั้นมีจำนวนการใช้คำเรียกขานในการเรียกตนเองกับคู่สนทนาทั้งเพศชายและหญิงน้อยกว่าผู้ใหญ่เพศชาย ส่วนการใช้คำเรียกขานในการเรียกคู่สนทนานั้นจำนวนการใช้คำเรียกขานเรียกคู่สนทนาเพศชายของวัยรุ่นเพศหญิงน้อยกว่าผู้ใหญ่เพศหญิง แต่ในการเรียกคู่สนทนาเพศหญิงด้วยกันนั้น วัยรุ่นเพศหญิงมีจำนวนการใช้คำเรียกขานมากกว่าผู้ใหญ่เพศหญิง  สำหรับวัยรุ่นเพศชายนั้น  มีจำนวนการใช้คำเรียกคู่สนทนาเพศชายด้วยกันน้อยกว่าผู้ใหญ่เพศชาย  ในขณะที่การใช้คำเรียกขานเรียกคู่สนทนาเพศหญิงนั้น วัยรุ่นเพศชายมีการใช้คำเรียกขานมากกว่าผู้ใหญ่เพศชาย การใช้คำเรียกขานของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตามปัจจัยเพศความสัมพันธ์ของผู้พูด พบว่าการใช้คำเรียกขานในการเรียกตนเองเป็นไปในทางเดียวกันกับการใช้คำเรียกขานเรียกคู่สนทนา โดยการใช้คำเรียกขานของวัยรุ่นเพศหญิงและเพศชาย รวมถึงผู้ใหญ่เพศหญิง มีจำนวนเท่ากัน ส่วนผู้ใหญ่เพศชายมีจำนวนน้อยกว่า

Downloads

How to Cite

สารวิทย์ ว. (2016). คำเรียกขานในภาษาไทยตามปัจจัยอายุ เพศ และความสัมพันธ์ของผู้พูด. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 169–179. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/58322

Issue

Section

บทความวิจัย(มนุษย์ฯ)