พืชมีสีกับการเป็นอินดิเคเตอร์ธรรมชาติ

Authors

  • รัตนา วงศ์ชูพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ขวัญกมล ชูนิ่ม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • เฉลิมพร ทองพูน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐพันธ์ สงวนศักดิ์บารมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Keywords:

พืชมีสี, อินดิเคเตอร์ธรรมชาติดอกไม้, กะหล่ำปลีม่วง, การไทเทรตกรด-เบส

Abstract

สารสกัดจากพืชธรรมชาติด้วยน้ำสี่ชนิด คือ ดอกอัญชัน ดอกเฟื่องฟ้า ดอกชบา และกะหล่ำปลีม่วง ได้ถูกนำมาทดสอบสมบัติการเป็นอินดิเคเตอร์ และการนำไปใช้ในการไทเทรตกรด-เบส รวมถึงการหาปริมาณแอนโทไซยานินในสารสกัดด้วยเอทาโนอิกไฮโดรคลอริก ผลการศึกษาพบว่า เวลาที่เหมาะสมในการสกัดด้วยน้ำ 30 นาที และสารสกัดด้วยน้ำของพืชทั้งสี่ชนิดมีช่วงการเปลี่ยนสีที่ชัดเจนแตกต่างกันทุกค่าพีเอช อย่างไรก็ตามสารสกัดจากดอกชบาและดอกอัญชันสามารถใช้เป็นอินดิเคเตอร์ในการไทเทรตกรด-เบสทั้งสามระบบซึ่งเทียบเคียงได้กับอินดิเคเตอร์สังเคราะห์ ดังนั้นสารสกัดจากพืชธรรมชาติในท้องถิ่นดังกล่าวสามารถเป็นอินดิเคเตอร์ที่ประหยัด ง่าย และให้ผลที่ถูกต้อง ส่วนปริมาณแอนโทไซยานินใน Ethanoic HCl พบมากที่สุดในดอกชบา

Downloads

How to Cite

วงศ์ชูพันธ์ ร., ชูนิ่ม ข., ทองพูน เ., & สงวนศักดิ์บารมี ณ. (2016). พืชมีสีกับการเป็นอินดิเคเตอร์ธรรมชาติ. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 74–83. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/58313

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)