การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อย ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • สุภาวดี แหยมคง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

การผลิตโคเนื้อ, การพัฒนาประสิทธิภาพ, เกษตรกร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพในการผลิตและกำหนดแนวทางในการผลิต  โคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 60 รายจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงโคเนื้อ มีอายุเฉลี่ย 48.90±8.02 ปีส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา (75.00%) และใช้แรงงานในครัวเรือน (100%) โคเนื้อที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ส์ (90.00%) เกษตรกรส่วนใหญ่ (92.00%) ใช้การผสมเทียมจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ และไม่มีการจดบันทึกภายในฟาร์ม (75.00%) รายได้หลักมาจากการเลี้ยงสัตว์ (87.00%) เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยตั้งแต่แรกเกิดและรายได้จากการจำหน่าย เท่ากับ 3,925.00±1,075.25 และ20,000±9,123.86 บาทต่อตัว ตามลำดับ ดังนั้นจึงทำให้เกษตรกรจะมีกำไรจากการเลี้ยงโคเนื้อเท่ากับ 16,075±7,523.74 บาทต่อตัว สำหรับการกำหนดแนวทางในการพัฒนาการผลิตโคเนื้อ โดยทำการประเมินผลเกษตรกรโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้และวิธีการปฏิบัติในการผลิตโคเนื้อ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ (51.80%) มีระดับความรู้และวิธีการปฏิบัติในการผลิตโคเนื้อ อย่างไรก็ตามความรู้และวิธีการปฏิบัติในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรต้องได้รับการส่งเสริมปรับปรุงแนวคิดและการปฏิบัติที่ถูกต้อง    ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลกำไรในการผลิตโคเนื้อ และนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาการผลิตโคเนื้อโดยภาครัฐและเอกชน ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนในการผลิตโคเนื้อดังกล่าวด้วยเช่นกัน

Downloads

How to Cite

แหยมคง ส. (2016). การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อย ในอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 28–34. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/58304

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)