การพัฒนาเครื่องอัดแก๊สชีวภาพขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน

Authors

  • สิริเดช กุลหิรัญบวร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

แก๊สชีวภาพ, เครื่องอัดแก๊ส, สำหรับใช้ในครัวเรือน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องอัดแก๊สชีวภาพขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือนให้สามารถปรับปรุงคุณภาพแก๊สชีวภาพ โดยใช้วิธีการลดปริมาณแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ด้วยตัวกรองที่ทำจากเศษฝอยเหล็กจากการกลึงแล้วทิ้งให้เป็นสนิมตามธรรมชาติ บรรจุลงในอุปกรณ์ที่ทำด้วยท่อ PVC ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.40 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร และการลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกจากแก๊สชีวภาพ ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ บรรจุลงในอุปกรณ์ที่ทำด้วยท่อ PVC ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 63.50 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ผลการทดลองพบว่าสามารถลดปริมาณแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ได้ตาราง 77.00 ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ร้อยละ 6.69 และการทดลองระยะเวลาที่ใช้อัดแก๊สชีวภาพเข้าถังเก็บแก๊สปิโตรเลียม ขนาดน้ำหนักแก๊สบรรจุ 15 กิโลกรัม (ขนาดบรรจุแก๊สที่ความดันสูงสุดไม่เกิน 480 psi) ในแต่ละช่วงความดัน คือ 50 100 และ 150 psi โดยใช้คอมเพรสเซอร์แบบปิดสนิท (Hermetic compressor) ขนาด 1/2 HP พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการอัดแก๊สชีวภาพเข้าถังเก็บแก๊สปิโตรเลียม คือ 3.44, 10.00 และ 17.20 นาที ตามลำดับช่วงความดัน แสดงให้เห็นว่าเครื่องอัดแก๊สชีวภาพขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้ดี

 

Downloads

How to Cite

กุลหิรัญบวร ส. (2016). การพัฒนาเครื่องอัดแก๊สชีวภาพขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 21–27. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/58301

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)