ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Keywords:
ปัจจัย, การปวดหลัง, บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูสงคราม Factors, Back Pain, PersonnelAbstract
การวิจัยนี้เป็นเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูสงคราม ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 228 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างเกี่ยวกับลักษณะประชากรและพฤติกรรมสุขภาพ การยศาสตร์การทำงาน รวมถึงปัจจัยด้านจิตวิทยาสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product moment correlation coefficient) และสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square)
ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.90 มีอายุเฉลี่ย 35.39 ปี ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาบุคลากรมีความรู้สึกปวดมากบริเวณบ่า/ไหล่ ซ้ายขวา ร้อยละ 33.30 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 66.20 มีค่าดัชนีมวลกายปกติ (18.5-22.9) ร้อยละ 45.60 พฤติกรรมสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี ร้อยละ 60.50 มีการยศาสตร์การทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.20 และโดยส่วนใหญ่บุคลากรมีความเครียดทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 75.00 และไม่มีความเครียดจากการทำงาน 97.40
สรุปผลการศึกษา พบว่า โรคประจำตัว ดัชนีมวลกาย การยศาสตร์ของการทำงาน ความเครียดทั่วไป และความเครียดจากการทำงาน มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).