ความหลากชนิดของนกในอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย

Authors

  • ศิริกรณ์ ศรีโพธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

สังคมนก, ความหลากชนิดของนก, อุทยานแห่งชาติภูเรือ

Abstract

มีการศึกษาชนิดและสังคมนกในพื้นที่อนุรักษ์ของประเทศไทยหลายพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลในอุทยานแห่งชาติภูเรือ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของนกในอุทยานแห่งชาติภูเรือ โดยได้ทำการสำรวจนกแบบเห็นตัวโดยตรงในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ผลการศึกษาพบนก 97 ชนิด 59 สกุล 38 วงศ์ วงศ์ที่พบมากสุด ได้แก่ วงศ์นกจับแมลง รองลงมา คือ วงศ์นกปรอด วงศ์นกกินแมลง วงศ์นกกระจิ๊ด และวงศ์นกพญาไฟ จำนวน 12, 8, 8, 7 และ 6 ชนิด ตามลำดับ นกที่พบชุกชุมมากสุด เป็นกลุ่มนกประจำถิ่น ได้แก่ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกพญาไฟใหญ่ นกปรอดหัวสีเขม่า และนกกางเขนดง (66.67%, 62.50%, 54.17%, 54.17% และ50.00%ตามลำดับ) ค่าดัชนีความหลากหลายของนกในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ 2 ป่าเบญจพรรณมีค่าสูงกว่าเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ 1 ป่าสนเขาสลับป่าดิบเขาระดับต่ำ (H¢= 3.39 และ 3.20 ตามลำดับ)     ค่าดัชนีความหลากหลายของนกสูงสุดที่ความสูง 901-1,000 เมตร (H¢= 3.39) การศึกษาครั้งนี้พบนกที่มีสถานภาพทางการอนุรักษ์ของประเทศไทยเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้ถูกคุกคาม 1 ชนิด คือ นกปรอดหัวโขน และหากมีการศึกษาขนาดประชากรและความหนาแน่นของนกในอุทยานแห่งชาติภูเรือเพิ่มเติม จะช่วยให้การจัดการอนุรักษ์นกและพื้นที่ป่าของอุทยานแห่งชาติภูเรือประสบผลสำเร็จมากขึ้น

Downloads

How to Cite

ศรีโพธิ์ ศ. (2016). ความหลากชนิดของนกในอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย. Life Sciences and Environment Journal, 16(2), 286–299. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/56667

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)