การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องอาหารสามวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน

Authors

  • ฐิติพร เทียรฆนิธิกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • รสสุคนธ์ วงษ์ดอกไม้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Keywords:

ชุดการเรียนรู้, อาหาร 3 วัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมกับชุมชน

Abstract

การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องอาหาร 3 วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเผยแพร่ตำรับอาหาร 3 วัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่ออนุรักษ์ตำรับอาหาร 3 วัฒนธรรมให้ยังคงยั่งยืนต่อไป โดยพัฒนาเป็นชุดการเรียนรู้แบบวีดีทัศน์ตำรับอาหารสามวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์  แล้วถ่ายทอดให้กับนักเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาอาหาร 3 วัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูภูมิปัญญาในจังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 2 สาธิตการทำอาหาร 3 วัฒนธรรมให้แก่นักเรียนและให้นักเรียนทดลองทำ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาชุดการเรียนรู้อาหาร 3 วัฒนธรรม ได้นำความรู้เกี่ยวกับอาหารสามวัฒนธรรมมาสร้างเป็นชุดการเรียนรู้แบบวีดีทัศน์ถ่ายทอดให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์

            ผลการศึกษาพบว่า  อาหารของแต่ละวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาและเครื่องปรุง เช่น อาหารวัฒนธรรมล้านช้างและวัฒนธรรมล้านนา มีความคล้ายคลึงกัน ประชากรของ2 กลุ่มอาศัยอยู่บริเวณหุบเขาและภูเขา อาหารของวัฒนธรรมล้านช้างประกอบด้วยแกงเอ๊าะไก่         ห่อหมกหน่อไม้ แกงหน่อไม้ และหลามปลาในกระบอกไม้ไผ่ และอาหารวัฒนธรรมล้านนา ได้แก่     แกงแคปลาส้าหยวก จึ๋นฟักทอง แกงส้มก้านทูนใส่มะละกอ และข้าวพันผักส่วนอาหารวัฒนธรรมไทยกลาง ซึ่งประชากรอาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบกัน อาหารดังกล่าว ได้แก่ บวนหน่อไม้ ต้มยำหัวปลีใส่ไก่ แกงหยวก และแกงหอยขม ส่วนอาหารที่ผ่านการคัดเลือกจากครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือก คือ อาหารวัฒนธรรมล้านช้าง ได้แก่ แกงหน่อไม้และหลามปลาในกระบอกไม้ไผ่ อาหารวัฒนธรรมล้านนา ได้แก่ แกงส้มก้านทูนใส่มะละกอและข้าวพันผัก อาหารวัฒนธรรมไทยกลาง ได้แก่ แกงหยวกและแกงหอยขม ได้นำความรู้อาหารสามวัฒนธรรมมาสาธิตให้แก่นักเรียน และให้นักเรียนทดลองทำ ค่า IOC ของชุดการเรียนรู้อาหารสามวัฒนธรรมอยู่ที่ 0.79

Downloads

How to Cite

เทียรฆนิธิกูล ฐ., & วงษ์ดอกไม้ ร. (2016). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องอาหารสามวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน. Life Sciences and Environment Journal, 16(2), 279–285. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/56666

Issue

Section

บทความวิจัย(มนุษย์ฯ)