การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีเสนเรือนของไททรงดำ (ลาวโซ่ง) อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • เสถียร สระทองให้ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

ประเพณีเสนเรือน, ไททรงดำ, ลาวโซ่ง, หลักพุทธธรรม

Abstract

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีเสนเรือนของไททรงดำ (ลาวโซ่ง) อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณี “เสนเรือน” (2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณี “เสนเรือน” และ (3) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมที่สอดคล้องต่อความเชื่อในประเพณี “เสนเรือน” พื้นที่ศึกษาเขตอำเภอบางระกำ ศึกษาเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเอกสารทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก นำมาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ระหว่างหลักธรรมกับความเชื่อในประเพณี “เสนเรือน” เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของประเพณี และสาระสำคัญของหลักธรรมที่ปรากฏในประเพณี ที่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตและความเชื่อในประเพณี รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในสังคม อำเภอบางระกำ ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีเสนเรือนที่สอดคล้องต่อความเชื่อ และวิถีชีวิตของลาวโซ่ง เช่น หลักความกตัญญูกตเวที เช่น บุคคลหาได้ยาก ทิศ 6 มงคล 38 หลักธรรมที่เน้น ความสามัคคี เช่น สาราณิยธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 และพรหมวิหาร 4 หลักธรรมที่เน้นการบริจาค ทาน เช่น พรหมวิหาร สังคหวัตถุ พลีกรรม 5 มงคล 38 เป็นการปรับความเชื่อในประเพณีเสนเรือนเข้ากับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน จึงทำให้ประเพณีเสนเรือน ยังจำเป็นและสำคัญต่อลาวโซ่งมาจนถึงปัจจุบัน

 

Downloads

How to Cite

สระทองให้ เ. (2016). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีเสนเรือนของไททรงดำ (ลาวโซ่ง) อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 16(2), 220–229. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/56661

Issue

Section

บทความวิจัย(มนุษย์ฯ)