การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเพลงพื้นบ้าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
Keywords:
เพลงพื้นบ้าน, การอนุรักษ์และพัฒนา, การมีส่วนร่วมของชุมชนAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเพลงพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์และเพื่อวิเคราะห์ทำนองและจัดทำเป็นโน้ตสากลประกอบคำร้อง ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพ่อเพลงแม่เพลงและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษากลุ่มนักศึกษา และกลุ่มเยาวชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาเพลงพื้นบ้าน เห็นคุณค่าของเพลงพื้นบ้าน และสามารถเชื่อมโยงระหว่างเพลงพื้นบ้านกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการตีกลองยาวและการร้องเพลงพื้นบ้านด้วยการสาธิต การสอน โดยตรงจากปราชญ์ชาวบ้าน การวิเคราะห์ทำนองเพลงพื้นบ้าน พบว่าลักษณะการเคลื่อนที่ของทำนองเพลงพื้นบ้านจังหวัดนครสวรรค์ส่วนมาก เป็นการเคลื่อนที่แบบสม่ำเสมอ นุ่มนวล ระดับของเสียงที่ใช้ในบทเพลงจะค่อยๆสูงขึ้น และค่อยๆ ต่ำลง บางครั้งลักษณะของทำนองมีการซ้ำเสียงกันอยู่บ้าง ทุกเพลงของเพลงพื้นบ้านจะใช้อัตราความเร็วของจังหวะเคาะที่สม่ำเสมอโดยประมาณ 70 ครั้งต่อ 1 นาที การตีรำมะนาประกอบจังหวะเพลงพื้นบ้านจะใช้หน้าทับในการตีเหมือนกันทุกเพลงจึงทำให้ลักษณะของทำนองไม่กระโดด ลักษณะของการร้องเพลงนั้นจะไม่เน้นหนักของน้ำเสียงในเพลงพื้นบ้าน การใช้ขั้นคู่ในการเคลื่อนที่ของทำนองเพลง มีดังนี้ คือ ขั้นคู่ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ ขั้นคู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ 6 ไมเนอร์ และการซ้ำเสียง เป็นต้น ในแต่ละเพลงจะมีประโยคเพลงไม่เกิน 3 ประโยค แต่ละประโยคจะมีวรรคเพลงไม่เกิน 3 วรรค ทั้งนี้ในแต่ละประโยคจะมีวรรคถามและวรรคตอบอยู่ในตัวเองโดยสมบูรณ์
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).