สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของเห็ดป่า จากป่าชุมชนบ้านน้ำจาง จังหวัดเพชรบูรณ์
Keywords:
สารต้านอนุมูลอิสระ, สารฟีนอลิก, เห็ดป่าAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบจากเห็ดป่า 5 ชนิด คือ เห็ดน้ำผึ้ง (Thaeogyroporus porentosus) เห็ดไข่ (Amanita princes) เห็ดไคล (Russula virescens) เห็ดถ่านใหญ่ (Russula nigricans) และเห็ดแดงน้ำหมาก Russula emetica) เก็บจากป่าชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ นำมาสกัดในตัวทำละลาย 3 ชนิด (น้ำ เมทานอล และเอทิลอะซิเตท) ทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging capacity และวิเคราะห์ปริมาณรวมของสารฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteu methods ผลการวิจัยความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน Trolox ที่ค่า IC50 เท่ากับ 2.24 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าสารจากเห็ดไข่ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตท แสดงสมบัติยับยั้งอนุมูลอิสระดีที่สุดด้วยความเข้มข้น 0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยสมบัติการยับยั้งไปในทิศทางเดียวกับค่าปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 67.91 มิลลิกรัม กรดแกลิกต่อกรัมสารสกัด (โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแกลลิก) จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่าเห็ดป่าที่นำมารับประทานเป็นอาหารมีผลยับยั้งอนุมูลอิสระ และสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพหรือยารักษาโรค คณะผู้วิจัยเสนอแนะให้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารที่มีอยู่ในเห็ด เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเภสัชกรรม เนื่องจากสารตัวอย่างจากเห็ดไคลในตัวทำละลายน้ำและเห็ดไข่ในตัวทำละลายเมทานอล มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ระดับความเข้มข้น 0.03 และ 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 5.10 และ 5.56 มิลลิกรัม กรดแกลิกต่อกรัมสารสกัด ตามลำดับ จึงควรมีการวิจัยเพิ่มเพื่อหาข้อมูลว่ามีสารชนิดอื่นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ และสารประกอบอื่นๆ ในเห็ดป่าเหล่านี้
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).