การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองอุดรในสภาพปลอดเชื้อจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม
Keywords:
กล้วยไม้ป่า, รองเท้านารี Paphiopedilum concolor, อุทยานแห่งชาติภูลังกาAbstract
การศึกษาหาสูตรอาหารเหลวและสูตรอาหารแข็งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนรองเท้านารีเหลืองอุดร (Paphiopedilum concolor (Bateman) Pfitzer) โดยเลี้ยงเมล็ดกล้วยไม้ในอาหารเหลว 11 สูตร ได้แก่ อาหารสูตรมาตรฐาน 2 สูตร คือ 1)อาหารสูตร VW Vacin & Went (1949) และอาหารสูตร (MS) Murashige & Skoog (1962) 2) สูตรอาหารดัดแปลง Modified Medium 9 สูตร (MM1-MM9) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตคือ α-Naphthalene acetic acid (NAA) ร่วมกับ Peptone ที่ระดับความเข้มข้น 0, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการวัดขนาดของโปรโตคอร์มที่อายุ 30 วัน และ 90 วัน เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตในสูตรอาหารที่แตกต่างกันนำ โปรโตคอร์มในสูตรอาหารที่ถูกคัดเลือกแล้วมาเพาะเลี้ยงเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตบนอาหารแข็งสูตรดัดแปลง 2 สูตร ได้แก่ Schenk & Hildebrandt (1972) และMurashige & Skoog (1962) เพื่อเปรียบเทียบการเจริญของต้นอ่อนที่อายุ 30 วันและ 90 วัน (p< 0.01) ผลการศึกษาพบว่าที่ระยะเวลา 30 วัน โปรโตคอร์มมีขนาดไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 90 วัน โดยอาหารเหลวดัดแปลงสูตร MM4 ที่เติม Peptone 1 กรัมต่อลิตร และ Biotin 1 มิลลิกรัมต่อลิตรและ สูตร MM9ที่เติม NAA 2 มิลลิกรัมต่อลิตรที่เติม Peptone 2 กรัมต่อลิตร และ Biotin 1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีโปรโตคอร์มขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเหลวสูตรอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่า ต้นอ่อนกล้วยไม้บนอาหารแข็งดัดแปลงสูตร Schenk & Hildebrand ให้ราก ลำต้น และใบที่เจริญได้ดีกว่าอาหารแข็งสูตร Murashige & Skoog
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).