ความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินที่สถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช

Authors

  • เกษม คงนิรันดรสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กาญจนา ชินสำราญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • วุฒิ ทักษิณธรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรภพ สุทธิวิเศษ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Keywords:

ไร, แมลงหางดีด, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบแล้ง

Abstract

การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินในป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา โดยเก็บตัวอย่างดินและใบไม้ปกคลุมผิวดินระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2556 และนำมาสกัดแยกสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินด้วยกรวยเบอร์ลิส-ทุลเกรน พบสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินจำแนกได้ 6 ชั้น (class) ซึ่งประกอบด้วย 17 อันดับ (order) โดยพบไรและแมลงหางดีดมากที่สุด ขณะที่ความหนาแน่นของสัตว์ขาปล้องในดินบริเวณป่าดิบแล้งมีค่าสูงกว่าบริเวณป่าเต็งรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ค่าดัชนีแชนนอน-วีเนอร์ (Shannon-Wiener index) ของป่าทั้ง 2 บริเวณไม่แตกต่างกัน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบความสัมพันธ์ของ อุณหภูมิในดินและในอากาศ ร้อยละความชื้นสัมพัทธ์ในดินและลักษณะเนื้อดินสัมพันธ์กับความหนาแน่นของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดิน

Downloads

How to Cite

คงนิรันดรสุข เ., ชินสำราญ ก., ทักษิณธรรม ว., & สุทธิวิเศษ ส. (2016). ความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กในดินที่สถานีวิจัย สิ่งแวดล้อมสะแกราช. Life Sciences and Environment Journal, 15(2), 45–53. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/56490

Issue

Section

บทความวิจัย(วิทย์ฯ)