การศึกษาป่าสาคูและความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Keywords:
ป่าสาคู, จังหวัดนครศรีธรรมราช, ปลาน้ำจืด, คุณภาพน้ำ, แพลงก์ตอนพืชAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่าสาคู ความหลากหลายของชนิดปลาและแพลงก์ตอนพืชในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้ใบสาคูผลิตเป็นตับจากมุงหลังคา ใช้ลำต้นมาบดเป็นอาหารสัตว์และเลี้ยงด้วงสาคู ทรัพยากรนี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 18,000 บาทต่อไร่ต่อปี ในระบบนิเวศป่าสาคูพบปลาน้ำจืด 9 อันดับ 24 วงศ์ และ74 ชนิด โครงสร้างประชากรปลาพบมากที่สุดในอันดับ Cypriniformes (กลุ่มปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย) รวม 37 ชนิด รองลงมา คือ อันดับย่อย Anabantoidei (กลุ่มปลากัด ปลาหมอ ปลากระดี่ ) รวม 16 ชนิด และอันดับ Siluriformes (กลุ่มปลาดุก ปลากด ปลาแขยง) รวม 15 ชนิด และพบว่ามีแพลงก์ตอนพืช 3 ดิวิชั่น จำนวนประมาณ 21-32 สกุล และ 22-28 สกุล ในฤดูร้อนและฤดูฝน ตามลำดับ โดยกลุ่มเด่น ทั้ง 2 ฤดู คือ วงศ์ Euglenaceae สำหรับดัชนีความหลากหลายในฤดูร้อนและฤดูฝนมีค่า 2.13-2.85 และ 2.1-2.68 ตามลำดับ การประเมินคุณภาพน้ำในพื้นที่ป่าสาคูโดยใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นตาม AARL-PP score และจัดตามระดับความมากน้อยของสารอาหารโดยใช้วิธี AARL-PC score พบว่า น้ำในพื้นที่ป่าสาคูส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางจนถึงสูง อย่างไรก็ตามแหล่งน้ำในป่าสาคูมีความเหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำ
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).