การพัฒนาไมโครแซทเทลไลท์ไพรเมอร์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมปลาท้องถิ่นบางชนิดในแม่น้ำน่าน
Keywords:
เครื่องหมายพันธุกรรม, ไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ, ปลาท้องถิ่นAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ สำหรับใช้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาท้องถิ่น 4 ชนิด ได้แก่ ปลาน้ำหมึก (Barilius pulchellus) ปลาเลียหิน (Garra cambodgiensis) ปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) และปลามั่ม(Scaphiodonichthys acanthopterus) ผลการศึกษาสามารถพัฒนาเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ได้คู่ไพรเมอร์ 7, 4, 4 และ 7 คู่ในปลาแต่ละชนิด ตามลำดับ การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมใช้ 3 คู่ไพรเมอร์นี้สำหรับปลาแต่ละชนิด ระดับความหลากหลายจากจำนวนแอลลีลต่อตำแหน่งค่าเฮตเทอโรไซโกซิตีสังเกต (Ho) และค่าเฮตเทอโรไซโกซิตีคาดหวัง (He) ในปลาน้ำหมึกพบ 3 - 5 แอลลีล ค่า Ho = 0.111 - 0.800 และค่า He = 0.106 - 0.701 ปลาเลียหินพบ 4 - 7 แอลลีล มีค่า Ho = 0.750 - 0.867 และค่า He = 0.715 - 0.827 ปลาพลวงหินพบ 3 แอลลีล มีค่า Ho = 0.489 - 0.600 และค่า He = 0.423 - 0.560 และปลามั่มพบ 3 - 13 แอลลีล มีค่า Ho = 0.523 - 0.622 และค่า He = 0.565 - 0.893 ระดับความหลากหลายทางพันธุกรรมที่พบในปลาทั้ง 4 ชนิดนี้ ใกล้เคียงกับปลาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันและมีความสอดคล้องกับการแพร่กระจายของปลาแต่ละชนิด เครื่องหมาย ไมโครแซทเทลไลท์ ที่พัฒนาได้ในการศึกษานี้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงสร้างของประชากร การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของปลาท้องถิ่นเหล่านี้ ข้อมูลพื้นฐานนี้ยังมีประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและการจัดการปลาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).