การศึกษาและการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
Abstract
ประเทศไทยตั้งอยู่พื้นที่เขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากโดยเฉพาะความหลากหลายทางชนิดของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 6-10 ของโลก และมีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยาในทุกภูมิภาคของพื้นแผ่นดินไทยในอดีตธรรมชาติมีคุณช่วยค้ำจุนทุกชีวิตและจิตใจของมนุษย์ บรรพบุรุษไทยได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสงบสุข โดยรู้จักใช้ประโยชน์จาก ดิน-น้ำ-ป่า อย่างรู้คุณค่าของ “ทรัพย์ในดิน-สินในน้ำ” และให้ความเคารพบูชาต่อ “พระแม่คงคา-พระแม่ธรณี” ตามวิถีแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่เป็นมรดกตกทอดสืบมาถึงทุกวันนี้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวเป็น “ทุนทางธรรมชาติ” ที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีบนฐานปัจจัยสี่ คือ อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งบรรพชนไทยได้พัฒนาองค์ความรู้แบบบูรณาการรอบด้านเป็น “ระบบนิเวศทางปัญญา” ที่อาจเรียกว่าเทคโนโลยีพื้นบ้าน หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่องกันมายาวนานซึ่งนับว่าเป็น“ทุนทางสังคม” และ “ทุนทางวัฒนธรรม” ที่ล้ำค่าของชาวไทย (วิสุทธิ์, 2548; 2555)Downloads
How to Cite
ใบไม้ ว. (2016). การศึกษาและการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. Life Sciences and Environment Journal, 15(2), 1–11. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/56486
Issue
Section
บทความวิชาการ
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).