การส่งเสริมการเจริญของข้าวโดยแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจน ที่แยกได้จากข้าวปลูกและข้าวป่า
Keywords:
ข้าวป่า, ข้าวปลูก, แบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจน, การส่งเสริมการเจริญของพืชAbstract
งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการแยกแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนจากรากและลำต้นของ ข้าวปลูกพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวป่า Oryza rufipogon พบว่าได้ทั้งหมด 52 ไอโซเลต โดยแยกได้จากข้าวป่า 32 ไอโซเลต และข้าวปลูก 20 ไอโซเลต แบคทีเรียที่แยกได้เป็นแบคทีเรียในสกุล Azospirillum 34 ไอโซเลต, Herbaspirillum 8 ไอโซเลต และ Pseudomonas 12 ไอโซเลต แบคทีเรียเอนโดไฟท์ทั้ง 52 ไอโซเลตมีอัตราการตรึงไนโตรเจนระหว่าง 0.72-138.13 นาโนโมลาร์ของเอทธิลีนต่อมิลลิกรัมโปรตีนต่อชั่วโมง และมีการสร้างกรดอินโดลอะซีติก (IAA) อยู่ระหว่าง 25.22-67.91 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร คัดเลือกแบคทีเรีย เอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนที่มีอัตราการตรึงไนโตรเจนและสร้างกรดอินโดลอะซีติกสูง จำนวน 6 ไอโซเลต ทดสอบความสามารถในการส่งเสริมการเจริญของต้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระยะแรกของการเจริญ พบว่าทุกไอโซเลต สามารถส่งเสริมการเจริญของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ช่วงอายุ 30 วัน โดยแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนไอโซเลต CMOR15 ทำให้น้ำหนักแห้งของลำต้นและปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่สะสมในส่วนเหนือดินมากที่สุด โดยมีค่าน้ำหนักแห้งของลำต้นเท่ากับ 1.69 กรัมต่อกระถางและปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่สะสมในส่วนเหนือดินเท่ากับ 29.19 มิลลิกรัมต่อกระถาง ตามลำดับ รองลงมา คือ ไอโซเลต CMOR06 โดยมีค่าน้ำหนักแห้งของลำต้นเท่ากับ 1.58 กรัมต่อกระถาง และปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่สะสมในส่วนเหนือดินเท่ากับ 27.93 มิลลิกรัมต่อกระถาง ตามลำดับ ปลูกถ่ายเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนทั้งสองไอโซเลตนี้ให้กับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในกระถางสภาพเรือนทดลอง พบว่าแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนไอโซเลต CMOR15 ทำให้ความสูงของ ลำต้นและจำนวนกอต่อต้นของข้าวมากที่สุด และมีค่า log number ของจำนวนแบคทีเรียเอนโดไฟท์ตรึงไนโตรเจนทั้งในส่วนรากและลำต้น อยู่ระหว่าง 4.81-4.85 และ 4.16-4.72 ตามลำดับ โดยพบจำนวนแบคทีเรีย ไอโซเลต CMOR15 มากกว่าไอโซเลต CMOR06 ในส่วนของรากมากกว่าลำต้น แบคทีเรีย ไอโซเลต CMOR15 และ CMOR06 ทำให้น้ำหนักแห้งของลำต้นและรากของข้าวที่ปลูกถ่ายเชื้อแบคทีเรียทั้งสองไอโซเลตมากกว่าชุดควบคุม โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 9.36-15.43 และ 4.63-11.56 กรัม/กระถาง ตามลำดับ
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).