การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทางการเกษตรและปัจจัยที่มีอิทธิพล ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2024.17คำสำคัญ:
พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทางการเกษตร, ลุ่มน้ำแม่วาง , กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทางการเกษตรและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภัยแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วาง ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ 8 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี เนื้อดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชัน ความหนาแน่นของการระบายน้ำ เขตพื้นที่ชลประทาน พื้นที่แล้งซ้ำซาก และดัชนีพืชพรรณ (NDVI) กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักปัจจัยด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นและวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด คือ ดัชนีพืชพรรณ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเชิงเกษตรกรรมสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงมาก พื้นที่เสี่ยงปานกลาง และพื้นที่เสี่ยงน้อย โดยพบว่าพื้นที่ ร้อยละ 96.94 เป็นพื้นที่เสี่ยงปานกลาง สำหรับพื้นที่เสี่ยงมากจะพบในตำบลยางคราม ตำบลสันติสุข และตำบลทุ่งปี๊ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ศึกษา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเกษตรกรรม เนื้อดินจัดเป็นกลุ่มดินทรายไม่อุ้มน้ำ มีความหนาแน่นของการระบายน้ำต่ำ น้อยกว่า 1.03 กิโลเมตรต่อตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกในเกณฑ์ฝนแล้ง และมีความลาดชันน้อย ผลการวิจัยนี้จะช่วยให้หน่วยงานท้องถิ่นและผู้มีอำนาจตัดสินใจใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสียหายจากภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น
References
Chiang Mai Province Disaster Prevention and Mitigation Plan Committee. Chiang Mai Province Disaster Prevention and Mitigation Plan 2015 (revised version fiscal year 2020). Chiang Mai; 2020.
Chomtha T. A Study of Meteorological Drought Index Model for Drought Areas in Northeastern Thailand. Bangkok: Meteorological Department; 2006.
MGR Online. Severe drought! The Mae Wang reservoir has drastically reduced, leaving floating houses stranded. Orchard farmers have set up rows of water pumps. 2017. Available at: https://mgronline.com/local/detail/9600000025185. Accessed December 10, 2022.
Peainlert S, Tongdeenok P, Kaewjampa, N. Drought risk area assessment using remotely sensed data and meteorological data in Chern Sub-watershed. KKU Research Journal (Graduate Studies) 2018; 18(3):67-83.
Pinthong A, Kwanyuen B. Testing the use of composite drought index to monitoring agricultural drought in Thailand. King Mongkut’s Agricultural Journal 2018;36(3):136-146.
Ruthamnong S. Geomatics for analysis of flood and drought risk areas in Klong Suan Mak Basin, Kamphaeng Phet Province. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) 2017; 23(2):86-103.
Saaty TL. Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Science 2008;1(1):83-98.
Saiuparad S, Phanthuna P, Suphirat C. Drought analysis for water management on geographic information system. Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon; 2021.
Seekaw A, Mongkolsawat C, Suwanweerakamton R. Using standardized vegetation index to assess drought areas in Northeast Thailand. Journal of Remote Sensing and GIS Association of Thailand 2014;15(2):25-38.
Singto A. Repeatedly dry areas in the northern region. Bangkok: Land Development Department; 2021.
Srisurat S. Drought Risk Area Analysis in Nakhonnayok Province. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2010.
Suksri P. Study of agricultural drought affected areas in the maize growing area in Dan Sai District, Loei Province. Bachelor of Science. Faculty of Agriculture Natural Resources and Environment, Naresuan University; 2022.
Thai Meteorological Department. Drought, 2022. Available at: https://www.tmd.go.th/info/drought. Accessed September 9, 2022.
Waranuchit W, Juthakorn J, Prakanrat S, Amatayakul P, Chomtha T, Suparatanaphan S, Yuttaphan A, et al. Study on Drought Index in Thailand 2012. Bangkok: Meteorological Department; 2014.
Wongsa S. The Application of geographic information system for analyzing drought risk area in Lampang Province. Master of Arts (Social Development Administration. Graduate School of Social Development and Management+ strategy, National Institute of Development Administration (NIDA); 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).