รูปแบบการบริหารจัดการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้บริหาร โรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • คำนึง วงศ์ปรีชากร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ทองแท่ง ทองลิ่ม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • นพดล อ่ำดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2023.28

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ , การใช้แรงงานต่างด้าว , ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม, การผลิตภาคตะวันตก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 1 และอันดับ 2 ของรูปแบบการจัดการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้บริหารโรงงาน ใน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการขาดแคลนแรงงาน ความต้องการแรงงาน ค่าจ้างแรงงาน ลักษณะของแรงงานด้านกฎหมายและนโยบาย และภาษา วิเคราะห์จัดกลุ่มตัวแปรและยืนยันปัจจัยในการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิต 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งของรูปแบบการจัดการจ้างแรงงานต่างด้าวด้านการขาดแคลนแรงงาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ ขยันไม่เลือกงาน เต็มใจทำงาน และเชื่อฟังคำสั่ง ด้านความต้องการแรงงาน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ ความรับผิดชอบและ ความอดทน ด้านค่าจ้างแรงงาน ประกอบด้วย การทำงานคุ้มค่า และการลดต้นทุน  ด้านลักษณะของงาน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ เลือกแรงงานตรงกับงานและความเสี่ยง
ด้านกฎหมาย และนโยบายของรัฐ มีองค์ประกอบเดียวคือ หน่วยงานรัฐคอยช่วยเหลือ ส่วนด้านภาษาไม่มีผลต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว  สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 ของรูปแบบการจัดการ

จ้างแรงงานต่างด้าวของผู้บริหาร พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการจ้างแรงงานต่างด้าว ได้แก่ จ้างตามคุณลักษณะของงาน โดยมีค่าน้ำหนักถดถอยเท่ากับ .98 เป็นลำดับแรก ลำดับรองลงมา ได้แก่ ค่าจ้างแรงงาน มีค่าน้ำหนักถดถอยเท่ากับ .41 และจ้างเมื่อมีตามความต้องการแรงงาน มีค่าน้ำหนักถดถอยเท่ากับ .38 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีอิทธิพลต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว

References

Chanchuklin T. Factors affecting the employment of foreign workers of entrepreneurs in prachuap khiri khan province. Master of Business Administration Thesis. Suan Dusit Rajabhat University; 2008.

Jindasak J, Thonglum T. Structural models affecting the management efficiency of thailand's tuna export industry. faculty of industrial technology management. Muban Chom Bueng Rajabhat University. Chom Bueng District Ratchaburi Province; 2022.

Kaiyawan Y. Research basics, Bangkok: Bangkok Auxiliary Media Center Publishing Center; 2011.

Kaiyawan Y. Structural equation modeling. Bangkok: Chulalongkron University Press; 2023.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis.7thed. New Jursey: Pearson Education, Inc; 2010.

Khaonoed S, Jesadalak W. Management of migrant workers of seafood processing enterprises in Muang District Samut Sakhon Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Thai version. Humanities Social Sciences and Arts; 2017.

Kongyen C. The opinion of factors affecting foreign labor employment in Hat Yai District, Songkhla Province. Master of Social Science Thesis Department of Public and Private Management HatYai University; 2014.

Koonsri S. Assessment of the need for foreign workers in Thailand: A case study of Mae Sot District, Tak Province. Chiang Mai University; 1996.

Kusin P. Causes of employment of burmese migrant workers: A case study in Ratchaburi Province. Bangkok : Ramkhamhaeng University; 2020.

Limpkanchanawat A. Employment of foreign workers of entrepreneurs in Surat Thane Province. Faculty of Management Sciences. Suratthani Rajabhat University. 2015.

Ministry of Labor. Announcement of the wage committee on minimum wage rate (Issue 10) and clarification with table showing minimum wage rate announced on December 6, 2019.

Pholmee A. Factors affecting the employment of unskilled workers in the Thailand 4.0 era of establishments in Laem Chabang Industrial Estate Chonburi Province. Journal of Economics and Public Policy 2018;9(18):35-48.

Pityanon S. Labor economics. Bangkok: Faculty of Economics. Chulalongkorn University; 1992.

Roinarin M. Employment of unskilled foreign workers in the area of the Bangkok Employment Office Area 10. Master's thesis Interdisciplinary fields of study. for local development Ramkhamhaeng University; 2019.

Ruan Mun S. Gender and migrant shan women labor experience in local fresh market. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2018.

Sangnak S, phanpinit S. Demand for foreign workers of entrepreneurs in Surat Thani province. College of Management for Development Research Report Thaksin University; 2014.

Smithhikrai S. Recruitment, selection and performance evaluation. Th 5ed. Bangkok : V.Print; 2019.

Sukonthaprateep W. Factors influencing the decision to employ foreign workers of entrepreneurs in Sa Kaeo Province. College of Innovation Valaya Alongkorn Rajabhat University under the royal patronage; 2014.

Suthama N. Nuritamon W. Demands for hiring alien laborers of service business entrepreneurs in Phranakhon Si Ayutthaya province Faculty of Business Administration and Information Technology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi, Phranakhon; 2016.

Thongplew A. Analysis of the system of foreign workers entering the country illegally. Master of Social

Work Thesis. Thammasat University. 1998.

John W, Bollen KA. Structural equations with latent variables., Inc., New York. 1989.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-10

How to Cite

วงศ์ปรีชากร ค., ทองลิ่ม ท. ., & อ่ำดี น. . . (2023). รูปแบบการบริหารจัดการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้บริหาร โรงงานอุตสาหกรรมภาคการผลิตในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย. Life Sciences and Environment Journal, 24(2), 362–379. https://doi.org/10.14456/lsej.2023.28