มูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชอาหาร และเห็ดในพื้นที่ป่าชุมชนโนนชาติ ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ธนาวรรณ พิณะเวศน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ยศรพี ทองเจริญ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2023.38

คำสำคัญ:

ป่าชุมชนโนนชาติ , การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจ , พืชอาหารและเห็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชอาหาร และเห็ดในพื้นที่ป่าชุมชนโนนชาติ ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสะท้อนมูลค่าที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากพืชอาหาร และเห็ดโดยการนำมาบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมภายในครัวเรือน งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์และประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชอาหาร และเห็ดที่ชุมชนเก็บหา โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มกรรมการดูแลป่าชุมชน กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์  จำนวน 25 ครัวเรือน และข้อมูลทุติยภูมิที่ได้มีการรวบรวมไว้ก่อนหน้า ร่วมกับวิธีการวางแปลงสำรวจความหลากหลายของ
พืชอาหาร และเห็ด วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีมูลค่าตลาด (Market Value) เป็นการวิเคราะห์การซื้อขายผลิตผลในท้องตลาด โดยใช้ราคาตลาด (Market Price) เป็นเครื่องมือในการหามูลค่า ผลการศึกษา พบว่า มีพืชและเห็ดที่เป็นอาหารของชุมชน ทั้งหมด 19 ชนิด แบ่งเป็นไม้ระดับสูง จำนวน 5 ชนิด
ไม้ระดับกลาง จำนวน 1 ชนิด ไม้ระดับล่าง จำนวน 5 ชนิด และเห็ดที่เป็นอาหาร จำนวน 8 ชนิด
โดยมูลค่ารวมของการเก็บหาพืชอาหาร และเห็ดในป่าชุมชนโนนชาติ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม
จากทรัพยากรในระบบนิเวศป่าชุมชนโนนชาติเฉพาะพืช และเห็ดที่นำมาเป็นอาหาร เท่ากับ 4,319,700 บาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือน  32,725 บาท/ปี 

References

Bookaew S. Valuation of the utilization of non-timber forest products. from Khok Yai Community Forest, Wapi Pathum District Mahasarakham Province. Master’s Thesis, Mahasarakam University. Thailand; 2009.

Chittaphone V, Chanta S, Paly J. A survey local food plants from forest of Ban Phornxay Louangprabang district Lao People’s Democratic Republic. Phranakhon Rajabhat Research Journal: Scieence and Technology 2020;15(1):13-26.

Dansriboon T, Promprakai P. An evaluation of Boonruang forest in Chiang Khong district, Chiang Rai province. Thesis report of agricutural and Resource Economics Department of Kasetsart University; 2017.

Duguma HT. Wild edible plant nutritional contribution and consumer perception in Ethiopia. International Journal of Food Science 2020;2020:1-16.

Jaitae S, Nummisri S, Rattanapunya S, Stantripob J, Sukseetong N, Numboonjit S, Vipawin C, Khamfun A. People’s Utilization and Participation in Conservation of Wild Edible Plants, Saluang-Keelek, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Quality of Life 2022;10(2):180-189.

Khonchantet Y, Sanguanwong P. Valuation of fishery and non timber forest products of seasonally flooded forest in the lower songkhram river basin, Nakhon Phanom. Mahidol University; 2007.

Maliwan W, Jai-aree A, Tanpichai P. The participation of supportings guideline for Kao Khlung community forest management, Ratchaburi province. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts 2017;10(1):694-708.

Noiprom N, Wilaikaew A. Research report on guidelines for increasing value of Dong Sam Kha Community Forest to Strengthen The Community Economy of Nam Kam Village, Tha Li District, Loei Province. Bangkok: Thailand Research Fund; 2015.

Ojelel S, Mucunguzi P, Katuura E, Kakudidi EK, Namaganda M, Kalema J. Wild edible plants used by communities in and around selected forest reserves of Teso-Karamoja Region, Uganda. Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine 2019;15(3):14.

Rasi T. Loei basin ecological studies. Full Report, Thailand Research Fund; 2014.

Thammasri w. The impacts of health and environmental from agricultural chemicals of thai farmers. King Mongkut’s Agricultural Journal 2021;39(4):329-336.

Yaimueang S. Indicators for food security at the community level. 1st printing. Samut Sakhon: Pim Dee; 2012.

Yotapakdee, T. Economic evaluation of non-timber forest products for benefits from Omkoi National Forest Reserve, Chiang Mai province. Area Based Development Research Journal 2014;6(4):23-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06

How to Cite

พิณะเวศน์ ธ., & ทองเจริญ ย. . (2023). มูลค่าทางเศรษฐกิจของพืชอาหาร และเห็ดในพื้นที่ป่าชุมชนโนนชาติ ตำบลหลักด่าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. Life Sciences and Environment Journal, 24(2), 506–519. https://doi.org/10.14456/lsej.2023.38