การพัฒนากระบวนการผลิตซอสมะขามเข้มข้นสำเร็จรูปลดโซเดียม และน้ำตาลเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • พรดรัล จุลกัลป์ Pibulsongkram Rajabhat University
  • กนกวรรณ พรมจีน
  • สุดาทิพย์ แซ่ตั้น

คำสำคัญ:

กระบวนการผลิต, ซอสมะขามเข้มข้น, ผลิตภัณฑ์ลดโซเดียม, ผลิตภัณฑ์ลดน้ำตาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตซอสมะขามเข้มข้นสำเร็จรูปที่ลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลจากมะขามหวานเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพของวัตถุดิบเริ่มต้นเป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย สามารถขยายกำลังการผลิตได้ถึง 20 กิโลกรัมต่อครั้ง โดยนำส่วนผสมใส่ในภาชนะสแตนเลส ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร นำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อนจากระบบไอน้ำที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ในระบบปิด บรรจุในขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วทำให้เย็นทันที ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะคุณภาพโดยมีค่าสีและปริมาณน้ำอิสระแตกต่างจากสูตรต้นแบบเล็กน้อย กระบวนการผลิตไม่ส่งผลด้านลบต่อคุณภาพทางด้านเคมีและจุลินทรีย์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงมีความปลอดภัยและผู้ประกอบการสามารถใช้กระบวนการดังกล่าวนี้ในการผลิตเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้จริงในอนาคต

References

AOAC. Official methods of analysis. Maryland; The Association of official analytical chemists; 2000.

AOAC. Official methods of analysis. Washington D.C; The Association of official analytical chemists; 2003.

AOAC. Official methods of analysis. Washington D.C; The Association of official analytical chemists; 2012.

Chunlakan P, Promjeen K, Dechaprakrom K. et al. Development of reduced sodium and sugar ready- to-use concentrated tamarind sauce from low grade sweet-variety tamarind for further commercial. Food and Agricultural Technology Pibulsongkram Rajabhat University; 2019.

Food intelligence center. Market intelligence: Seasoning in Thailand. http://fic.nfi.or.th/MarketOverview DomesticDetail.php. Accessed November 1, 2020.

Ministry of Public Health. Sauces in Sealed Containers (No. 200) B.E. 2543 (2000a). Available at: http://food.fda.moph.go.th/law/announ_moph151-200.php. Accessed October 15, 201.

Ministry of Public Health. Some Particular Kinds of Sauces (No. 201) B.E. 2543 (2000b). Available at: http://food.fda.moph.go.th/law/announ_moph201-250.php. Accessed October 15, 2019.

Pornchaloempong P, Rattanapanone N. Low acid Foods. Food Network Solution. Available at: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1048/low-acid-food. Accessed October 11, 2020.

Pornchaloempong P, Rattanapanone N. Browning reaction. Food Network Solution. Available at: https://foodnetworksolution.com/wiki/word/0745/browning-reaction. Accessed November 1, 2020.

Ruchikachorn N. Development of Peanut Sauce. Master of Science (Agro-Industrial Product Development). Faculty of Agro-Industry, Kasetsart University, 2005.

Thai Industrial Standards Institute. Oyster sauce (1317-2538).995. Available at: https://industrygoth/center_mng/index.php/2016-04-24-18-07-42/2016-04-24-. Accessed October 15, 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29

How to Cite

จุลกัลป์ พ., พรมจีน ก., & แซ่ตั้น ส. . (2021). การพัฒนากระบวนการผลิตซอสมะขามเข้มข้นสำเร็จรูปลดโซเดียม และน้ำตาลเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์. Life Sciences and Environment Journal, 22(1), 72–82. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/243390