การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา กรณีศึกษา กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล

ผู้แต่ง

  • ภัทรกร ออแก้ว

คำสำคัญ:

การออกแบบบรรจุภัณฑ์, ชาดาวอินคา, กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล

บทคัดย่อ

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล ครั้งนี้ มีจุดประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ผลิตภัณฑ์ชาดาวอินคา 2) เพื่อให้บรรจุภัณฑ์สามารถยืดอายุการเก็บ และรักษาคุณภาพของชาดาวอินคา 3) เพื่อพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคาที่มีความสวยงาม น่าสนใจแสดงเอกลักษณ์เฉพาะ มีข้อมูลของผลิตภัณฑ์ครบถ้วน และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา ของ กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาแล้วจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และนักท่องเที่ยว โดยการคัดเลือกชนิดชาดาวอินคาที่จะนำมาออกแบบและทำแบบร่าง เพื่อสอบถามความพึงพอใจและความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรจุภัณฑ์ด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีลักษณะคำถามแบบเรียงลำดับ ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์จึงนำมาผลิตต้นแบบบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล และนำต้นแบบที่ได้ไปประเมินความพึงพอใจ จากผู้ผลิตและผู้บริโภค จำนวน 50 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคชาดาวอินคาส่วนใหญ่ นิยมบริโภคเพื่อ บำรุงร่างกาย สูตรที่ขายได้มากที่สุดคือ สูตร 2 ทำจากเปลือก รองลงมาคือ ชาดาวอินคา สูตร 1 ทำจากใบ และ ชาดาวอินคา สูตร 3 ทำจากใบ ผสมเปลือก ตามลำดับ ผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชา บรรจุภัณฑ์ชั้นในสุดคือ ซองชาเยื่อกระดาษ เพื่อให้ชงชาและดื่มได้อย่างสะดวกและง่าย ชั้นที่ 2
ใช้วัสดุเป็น ซองฟอยล์ ทำให้ยืดอายุการเก็บและรักษาคุณภาพของชาได้ดียิ่งขึ้น และบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุดเพื่อรวมหน่วยสินค้า ใช้กระดาษอาร์ตมัน 300 แกรม เคลือบ ด้วยฟิล์ม PVC ขุ่น มีกราฟิก เป็นส่วนสำคัญเพื่อดึงดูดและสื่อความหมายให้แก่ผู้บริโภคโดยสามารถโน้มน้าวให้เกิดการซื้อได้มากขึ้น
ทั้งนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์มีวัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ใช้สอยต้องมีขนาดสัดส่วนเหมาะสมกับการใช้งานด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ คือต้องมีรูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสม รวมไปถึงใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ ด้านความสวยงาม แสดงข้อมูลสินค้าครบถ้วน กราฟิกของบรรจุภัณฑ์มีเอกลักษณ์ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ผลการประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก (= 4.35)

 

References

Promluk S. Sacha Inchi treat your heart and health. Journal of Heart Journal. 2017; 11: 2.

Sawita D. The influence of brand awareness Promotional interest and service satisfaction affect TNT brand loyalty. Bangkok University, 2016.

Gonzales FG, Gonzales C. A randomized double-blind placebo-controlled study on acceptability safety and efficacy of oral administration of Sacha Inchi oil in adult human subjects. Food and Chemical Toxicology. 2014; 65: 168-176.

Jiang DS, Fu CY. Study on different folding carton damaged in drop condition. Applied Mechanics and Materials; 2014; 469: 221-224.

Kirwan MJ. Handbook of Paper and Paperboard Packaging Technology. Chichester: West Sussex. John Wiley & Sons; 2013; 265-267.

Obolewicz P. Carton Folding. Kit L. In the Wiley Encyclopedia of Packaging Technology. Hoboker Nj: John Wiley & Sons, 2009.

Khongcharoenkiat P, Khongcharoenkiat S. Food Packaging. Bangkok: Pacmet; 1998: 71-83.

Sillapatharakul T. Efficacy of Oral Sacha Inchi Oil Supplement on Cognitive Function, National Research Conference and Presentation of Research at the Second Decade Integrated Research of Knowledge Towards Sustainability. 2017; 3: 14-21.

Yehuda S, Rabinovitz, Mostofsky DI. Essential fatty acids are mediators of brain biochemistry and cognitive functions. Journal of Neuroscience Research. 1999; 56: 565-570.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-14

How to Cite

ออแก้ว ภ. (2020). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชาดาวอินคา กรณีศึกษา กลุ่มอินคาไร่ชัชวาล. Life Sciences and Environment Journal, 21(2), 385–395. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/241382