การศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการย้อมสีทนกรดและวิธีการตรวจ ทางอณูชีววิทยา โดยเปรียบเทียบกับวิธีการเพาะเชื้อ จากเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคปอด ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
คำสำคัญ:
การย้อมเสมหะด้วยสีทนกรด, วิธีการตรวจเสมหะทางอณูชีววิทยา, สวรรค์ประชารักษ์บทคัดย่อ
การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลเดิมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัยเชื้อวัณโรคด้วยวิธีการย้อมเสมหะด้วยสีทนกรด วิธีการตรวจเสมหะทางอณูชีววิทยา เปรียบเทียบกับการเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะของผู้มารับบริการตรวจวัณโรค ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้มารับบริการตรวจวัณโรค ที่ส่งตรวจเสมหะที่กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561 จำนวนทั้งสิ้น 397 ราย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่าวิธีการย้อมเสมหะด้วยสีทนกรด มีค่าความไวร้อยละ 94.3 ความจำเพาะร้อยละ 94.2 การทำนายผลบวกร้อยละ 92.7 และการทำนายผลลบร้อยละ 95.5 วิธีการตรวจเสมหะทางอณูชีววิทยา มีค่าความไว
ร้อยละ 100.0 ความจำเพาะร้อยละ 93.7 การทำนายผลบวกร้อยละ 92.6 และการทำนายผลลบ ร้อยละ 100.0 สรุปได้ว่า การตรวจวินิจฉัยเชื้อวัณโรคโดยวิธีการย้อมเสมหะด้วยสีทนกรดและวิธีการตรวจเสมหะทางอณูชีววิทยา เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้รวดเร็ว ลดการแพร่กระจายเชื้อ สามารถให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและหายจากวัณโรคได้
References
Balows A, Hausler J, Herrman N. et al. Manual of Clinical Microbiology. 5th ed. Washington, Journal of American Society for Microbiology; 1991
Bishop P, Neuman G. The History of the Ziehl-Neelsen Stain. Journal of Tubercle, 1970; 51: 196.
Dawson B, Trapp R. Basic & Clinical Biostatistics. 4th ed. Singapore: McGraw Hill; 2004.
Koch R. Robert Koch: Centenary of the Discovery of the Tubercle Bacillus. Journal of Canadian Veterinary, 1983; 24: 127-131
Nootprayoon C. National Tuberculosis Control Programme Guideline. journal of tuberculosis and chest diseases, 2001; 22(3):180-193.
Theron G. False-Positive Xpert MTB/RIF Results in Retested Patients with Previous Tuberculosis: Frequency, Profile, and Prospective Clinical Outcomes. Journal of Clinical Microbiology, 2018; 56(3): 1-9.
Thonsiri W. Sensitivity and Specificity of Sputum AFB Smear Test of Out-Patient Laboratory, Prapokklao
Hospital, Chantaburi. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 2016;
33(2): 110-117.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).