การหาปริมาณธาตุต่างๆ ในดินที่ปลูกอ้อยในจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ประกรณ์ เลิศสุวรรณไพศาล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Abstract

บทคัดย่อ

ได้ทำการวิเคราะห์หาปริม าณธา ตุต่างๆ ในดินที่ปลูกอ้อย ในจังหวัดพิษณุโลกโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุในดินที่ปลูกอ้อย ในจังหวัดพิษณุโลก

2. เพื่อเปรียบเทียบหาปริมาณแร่ธาตุต่างๆในดินที่ปลูกอ้อยกับดินทั่วๆไป

3. เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับเกษตรกรเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดินที่ปลูกอ้อยต่อไป

โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินในช่วงเดือนเมษายน หลังฤดูการเก็บเกี่ยว 6 สถานีตามอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลก โดยนำตัวอย่างดินมา วิเคราะห์หาปริมาณธาตุไนโตรเจน โดยวิธี Walkey and Black พบว่ามีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในช่วง 0.17 – 0.22 เปอร์เซ็นต์ หาปริมาณฟอสฟอรัสด้วยวิธี ยูวี–วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมตรี พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในช่วง 11.05 – 45.15 ppm หาปริมาณ โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียมเหล็ก สังกะสีและทองแดงด้วยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตเมตรี

พบว่ามีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ 45.73 – 95.47ppm แมงกานีส 57.98 – 71.40 ppm แมกนีเซียม 0.457 – 0.957 ppm เหล็กพบอยู่ในช่วง 2.457– 2.954 ppm สังกะสีพบอยู่ในช่วง 0.1078 -0.6023 ppm และ ทองแดง พบอยู่ในช่วง 0.1710 – 0.2073 ppm ค่าความเป็นกรด – ด่างโดย ใช้เ ครื่องมือวัดคว าม เ ป็นกรดด่า งพบว่าอยู่ในช่วง 5.32 - 7.78 ตามลำดับ

จากการศึกษาคุณภาพของดินดังกล่าวพบว่าปริมาณแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานดินทั่วไป ซึ่งสามารถปลูกอ้อยได้วิธีการดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย

1.ทำการเตรียมตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์

โดยการทำการสุ่มเก็บดินตัวอย่าง ตามอำเภอต่างๆ ที่ปลูกอ้อยในจังหวัดพิษณุโลกตามแหล่งต่างๆ ดังนี้ อำเภอเมือง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอวังทองจำนวนทั้งหมด 6 จุด เก็บตัวอย่างในช่วงเดือนเมษายน 2546

การเก็บตัวอย่างดิน ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดิน ในแต่ละแปลง (ขนาด 30 x 50ตารางเมตร) ในแนวเขตลักษณะฟันปลา โดยใช้พลั่วพลาสติก ทำการเก็บ 10 – 15 จุด ต่อหนึ่งแปลงให้มีความลึกประมาณ 20 ซ.ม. แล้วทำการวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดด่างโดยใช้เครื่องวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pHmeter) และหาปริมาณไนโตรเจนด้วยวิธีวิเคราะห์หาปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินด้วยวิธีของ Walkey and Black การวิเคราะห์หาฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยใช้น้ำ ยาสกัด Bray II แล้ว วัดด้วยเครื่องมือนำไปหาค่าความเข้มข้น ด้วยเครื่องมือ สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophotometer) ที่ช่วงคลื่น 882 นาโนเมตรและวิเคราะห์หาปริมาณธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็กสังกะสีและทองแดง ในดินตัวอย่างโดยใช้เครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์แล้วนำ มาหาค่าความเข้มข้นที่พลังงาน 766.5 285.2 279.5 248.3 213.9324.8 keV ตามลำดับ

Downloads

How to Cite

เลิศสุวรรณไพศาล ป. (2014). การหาปริมาณธาตุต่างๆ ในดินที่ปลูกอ้อยในจังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 6(1-2), 81–83. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17164

Issue

Section

บทความวิชาการ