คาริโอไทป์ของพืชในวงศ์ Amaryllidaceae
Abstract
บทคัดย่อ
พืชที่อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae เป็นไม้หัวล้มลุกมีลักษณะดอกคล้ายดอกลิลลี่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกขนาดใหญ่ รูปทรง สี และลวดลายบนกลีบดอกแตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา จำนวนและลักษณะโครโมโซม ตลอดจนเทคนิคที่เหมาะสมในการศึกษาโครโมโซมระยะเมทาเฟส ของพืชใน วงศ์ Amaryllidaceae 3 สกุล คือสกุล Hymenocallis 3 ชนิดได้แก่ ว่านงู (H. caribaea) ว่านรางทอง (H. littorais Jacq. Salisb cv. Variegata) และว่านสิทธิโชค (Hymenocallis sp.) สกุล Crinum 2 ชนิด ได้แก่ พลับพลึงเตือน ตา (C. rubra) และ ว่านไชยมงคล(Crinum sp.) และ Hippeastrum 1 ชนิด คือ ว่านรางนาก (Hippeastrum sp.) โดยนำตัวอย่างปลายรากพืชแต่ละชนิดมาศึกษาโครโมโซมในระยะเมทาเฟส ด้วยวิธี Feulgen sguash
ผลการศึกษาพบว่า เวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างปลายรากพืชอยู่ในช่วง 11.00 – 15.30 น. ซึ่ง แตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด คือ ว่านสิทธิโชค ว่านรางทอง ว่านงู ว่านไชยมงคล พลับพลึงเตือนตา และว่าน รางนาก มีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างปลายคือ 11.00 น., 11.30 น., 12.00 น.-15.00 น., 13.00น., 13.00น. – 15.00 น. และ 15.30 น. ตามลำดับ เมื่อศึกษาจำนวนและลักษณะโครโมโซมในระยะเมทาเฟส พบว่าว่านไชยมงคล มีจำนวนโครโมโซม และสูตรคาริโอไทป์เป็น 2n = 22 = Lm2 + L4sm + L2ac + M4m + M6sm+ Sm4 พลับพลึงเตือนตา 2n = 22 = Lm2 + Lsm8 + Mm4 + Msm6 + Sm2 ว่านรางนาก 2n = 22 = Lsm4 + Lac6 + Mac4 + Mm6 + Sm2 ว่านสิทธิโชค 2n = 52 = Lm2 + Lsm2 + Lac4 + Mm2 + Sm12 + Ssm24 ว่านรางทอง 2n = 49 = Lm18 + Mm6 + Msm2 + Sm18 + Sac2 + St3 และว่านงู 2n = 33 = Lm2 + Lsm9 + Lac3 + Mm6 + Msm8 + Sm6 + t(4q8q)1
ABSTRACT
The plants in family Amaryllidaceae are herbaceous perennials that grow from bulbs, a flower petal like lily. Distnguishing field characteristics such as texture, color of tepal and shape of the staminal corona, are popular flowering plants grown.
This educational pursuit is numeration and particular to chromosome as well as an appropriate technique to study in metaphase chromosome of some particular plants in family Amaryllidaceae on 3 species of Hymenocallis, that is Wan ngu (H. caribaea), Wan rangtong (H. littoralis (Jacq.) Salisb ev. Variegata) and Wan sittichok (Hymenocallis sp.), 2 species of Crinum,that is Phlap phlueng tuanta (C. rubra) and Wan Chaiyamongkol (Crinum sp.) and 1 species of Hippeastrum than is Wan rang nak (Hippeastrum sp.). The root tips of plant materialused in metaphase chromosome study are prepared with Feulgen squash method.
Recent studies on the karyotypes of some particular plants in family Amaryllidaceae confirmed that the appropriate period to collect the root tips are during 11 a.m. to 3.30 p.m. depends on each species. The chromosome number and karyotypes formula for each species is Wan Chaiyamongkol 2n = 22 = Lm2 + L4sm + L2ac + M4m + M6sm+ Sm4 Phlap phlueng tuanta 2n = 22 = Lm2 + Lsm8 + Mm4 + Msm6 + Sm2 Wan rang nak 2n = 22 = Lsm4 + Lac6 + Mac4 + Mm6 + Sm2 Wan sittichok 2n = 52 = Lm2 + Lsm2 + Lac4 + Mm2 + Sm12 + Ssm24 Wan rangtong 2n = 49 = Lm18 + Mm6 + Msm2 + Sm18 + Sac2 + St3 and Wan ngu 2n = 33 = Lm2 + Lsm9 + Lac3 + Mm6 + Msm8 + Sm6 + t(4q8q)1.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).