คุณภาพน้ำผิวดินในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • สุขสันต์ สุภาวงศ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปิยะดา วชิระวงศกร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Abstract

บทคัดย่อ

การติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพน้ำ ผิวดินในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครา ม (ส่วนทะเลแก้ว) จังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และในช่วงฤดูฝน ระหว่างมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2553โดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำ ผิวดินจำ นวน 18 จุด เพื่อตรวจวัดคุณภาพแหล่งน้ำทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ผลการศึกษา พบว่าแหล่งน้ำผิวดินเกือบทั้งหมด มีอุณหภูมิ พีเอช ปริมาณของแข็งแขวนลอย ไนเตรท ฟอสเฟต แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง และเหล็ก มีค่าอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินทั้ง 2 ฤดู สำหรับค่าความขุ่นของแหล่งน้ำทุกจุดในช่วงฤดูฝนที่มีค่าเกินกว่า 100 NTU ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำได้ ส่วนปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ในแหล่งน้ำ ส่วนใหญ่มีปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน โดยในช่วงฤดูแล้งมี ค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.76-4.61 มิลลิกรัม/ลิตร และในช่วงฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.58-5.39 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วน โคลิฟอร์มทั้งหมดตรวจพบอยู่ระหว่าง 170-5,943 MPN/100 มิลลิลิตร ในฤดูแล้ง และ 240->1,600 MPN/100 มิลลิลิตร ในฤดูฝน

 

Abstract

Monitoring and evaluation of surface water quality in Pibulsongkram Rajabhat University (Talay Kaew), Phitsanulok Province was carried out during dry season (March-May, 2010) and monsoon season (June-July, 2010). Physical, chemical and biological water qualities of 18 surface water sampling points were determined. The results showed that temperature, pH, suspended solids, nitrate, phosphate, cadmium, lead, copper and iron values of most water sampling points were below the water quality standard levels both in dry and wet seasons. The turbidity value exceeded 100 NTU, which may affect to aquatic organisms in surface water. The amount of oxygen dissolved in water of most surface water collection points was below the water quality standard level both in dry and wet seasons. Dissolved oxygen in water varied from 0.76 to 4.61 mg/L in dry season and 0.58 to 5.39 mg/L in wet season. Total coliform ranged between 170 to 5,943 MPN/100 ml. of dry season and 240 to >1,600 MPN/100 ml. of wet season.

Downloads

How to Cite

สุภาวงศ์ ส., & วชิระวงศกร ป. (2014). คุณภาพน้ำผิวดินในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 12(1), 72–85. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17043

Issue

Section

บทความวิชาการ