ผลของอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นต่อการผลิตไฮโดรเจนจากเปลือกกล้วย โดยกลุ่มจุลินทรีย์ชอบร้อน

Authors

  • สุขสมาน สังโยคะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
  • สุรีวัลย์ สิทธิจันดา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
  • อลิศรา เรืองแสง ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

Keywords:

ไฮโดรเจน, เปลือกกล้วย, จุลินทรีย์ชอบร้อน, Hydrogen, banana peel, thermophilic bacteria

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นต่อการผลิตไฮโดรเจนจากเปลือกกล้วยโดยการออกแบบทางสถิติ Central Composite Design (CCD) ผลจากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (X1) มีผลต่อการผลิตไฮโดรเจน (p<0.05) ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้น (X2) ไม่มีผลต่อการผลิตไฮโดรเจน (p>0.05) นอกจากนั้นยังพบว่าแต่ละปัจจัย (X1, X2) ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน (no interaction) (p>0.05) ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมที่ให้ค่าไฮโดรเจนสะสมสูงสุดคือ ที่อุณหภูมิ 44.49 ◦ซ และค่าความเป็นกรด-ด่าง เริ่มต้น 5.59 โดยให้ค่าไฮโดรเจนสะสมสูงสุดเท่ากับ 44.53 มิลลิโมล H2/ลิตรของสารตั้งต้น และผลการทดลองจากขั้นตอนยืนยันผลพบว่าค่าไฮโดรเจนสะสมจากการทดลองมีค่าเท่ากับ 43.08 มิลลิโมล H2/ลิตรของสารตั้งต้น ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากค่าที่ได้จากการออกแบบการทดลองทางสถิติเพียง 3.26% ซึ่งมีค่าน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าการออกแบบการทดลองทางสถิติสามารถให้ทำนายค่าผลได้ไฮโดรเจนจากเปลือกกล้วยสุกโดยกลุ่มจุลินทรีย์อย่างแม่นยำ

คำสำคัญ: ไฮโดรเจน เปลือกกล้วย จุลินทรีย์ชอบร้อน

 

Abstract

Effect of temperature and initial pH on hydrogen production from banana peel by thermophilic microorganisms from the hot spring in the Southern part of Thailand were investigated. Statistical based experiment was designed using the central composite design (CCD). Results indicated that temperature (X1) had a significantly effect (p<0.05) on hydrogen production while the initial pH (X2) did not (p>0.05). In addition, there was no interaction between the temperature and the initial pH (X1X2)( p>0.05). Maximum hydrogen production of 44.53 mmol H2/L-substrate was obtained at the temperature of 44.49 and initial pH of 5.59. Results from the confirm test was 43.08 mmol H2/L substrate which was only 3.26% different from the actual results, indicating that the CCD could be used to design the experiment with the least error.

Keywords : Hydrogen banana peel thermophilic bacteria

Downloads

How to Cite

สังโยคะ ส., สิทธิจันดา ส., & เรืองแสง อ. (2014). ผลของอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นต่อการผลิตไฮโดรเจนจากเปลือกกล้วย โดยกลุ่มจุลินทรีย์ชอบร้อน. Life Sciences and Environment Journal, 12(1), 58–71. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17040

Issue

Section

บทความวิชาการ