แนวทางการสอนแนะเพื่อพัฒนาการผลิตผลงานวิจัยในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Authors

  • วราพร วันไชยธนวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • ปลื้มจิต โชติกะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
  • โรชินี อุปรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Keywords:

วิจัย, การสอนแนะ, วิจัยคุณภาพ, การสัมภาษณ์, Research, Coaching, Qualitative Research, Interview

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการนำระบบการสอนแนะ (Coaching)ไป ใช้ในการพัฒนาการผลิตงานวิจัย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในผู้บริหารและ อาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ จำนวน 31 คน ในเดือน มิถุนายน – กันยายน 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเนื้อหาของข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ สรุป และ นำเสนอในเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนวทางการเตรียมการ, การดำเนินการและการประเมินผลการนำระบบการสอนแนะ (Coaching) มาใช้ในการพัฒนาการผลิตงานวิจัย โดยให้ความสำคัญกับบริบทด้านบุคคลและนโยบาย ซึ่งแนวทาง ดังกล่าวเป็นแนวทางที่วิเคราะห์มาจากบริบท ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่โดยเฉพาะ ซึ่ง ผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นแนวทางให้ผู้รับผิดชอบ กำกับและดูแลการผลิตผลงานวิจัยของวิทยาลัยฯนำไป ดำเนินการได้จริงและสอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์ในวิทยาลัยฯ ซึ่งการนำระบบวิธีการสอนแนะมาใช้ใน การผลิตงานวิจัยจะทำให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาและยังก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถาบันใน การเพิ่มผลผลิตทางด้านวิชาการและการกำหนดนโยบายต่างๆที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่ออาจารย์ผู้สอนในการ ผลิตผลงานวิจัยอีกด้วย

คำสำคัญ : วิจัย, การสอนแนะ, วิจัยคุณภาพ, การสัมภาษณ์

 

Abstract

This descriptive research aims to explore Coaching Strategy for Improving Research Conducted in Boromarajonani College of Nursing, Chiang Mai (BCNC). Individual in-depth interviews were conducted with 31 administrators and lecturers. Data were analyzed manually using qualitative content analysis for developing main concepts. The study found that the lecturers’ perspectives included preparation, implementation and evaluation processes. The findings also demonstrated the factors that influenced the lecturers for coaching system were ‘people’ and ‘policy’. This result showed the BCNC’s context for applying coaching system to improve research process and it was useful for persons in charge of applying coaching system to routine works. Coaching also increased personnel development and self improvement as well as increasing the quality and quantity of BCNC’s research.

Keywords : Research, Coaching, Qualitative Research, Interview

Downloads

How to Cite

วันไชยธนวงศ์ ว., โชติกะ ป., พิพัฒน์ธนวงศ์ ว., & อุปรา โ. (2014). แนวทางการสอนแนะเพื่อพัฒนาการผลิตผลงานวิจัยในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 122–128. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17035

Issue

Section

บทความวิชาการ